Knowledge

อยากให้เด็กเลิกโกงข้อสอบ ต้องเปลี่ยนที่การสอนของครู

อยากให้เด็กเลิกโกงข้อสอบ ต้องเปลี่ยนที่การสอนของครู

 5 years ago 17861

เรื่อง: ภัทรพร บุญนำอุดม
ภาพ: กชกร มั่นคงเจริญกิจ

          ในช่วงเวลาจัดการสอบเช่นนี้ คงไม่มีสิ่งใดที่ทำให้ครูจับตามองได้มากเท่าการโกงข้อสอบในชั้นเรียน อย่างที่รู้กันดีว่า ‘การโกงข้อสอบ’ นับเป็นพฤติกรรมที่บ่งชี้ถึงความล้มเหลวในการจัดการศึกษา ทั้งยังเป็นปัญหาที่ท้าทายความรู้ความสามารถในการสอนของครู บั่นทอน ‘ความเชื่อใจ’ ที่ครูมีต่อนักเรียน แต่ครูรู้หรือไม่ว่า พฤติกรรมการโกงข้อสอบที่แพร่ระบาด และแก้ได้ยากยิ่งในหมู่นักเรียนนั้น หลายครั้งตัวผู้สอนเองกลับเป็นสาเหตุในการบ่มเพาะพฤติกรรมเหล่านั้นให้เกิดขึ้น โดย James M. Lang โปรเฟสเซอร์ชาวอังกฤษ ผู้ทำวิจัยเพื่อค้นหาว่า เหตุใดนักเรียนจึงโกงข้อสอบ และมุ่งที่จะหยุดพฤติกรรมเหล่านั้น

เด็กโกง ครูต้องเลิกสอนแบบนี้

          ในการทำวิจัยนี้ Lang ได้ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นกรอบในการอธิบาย โดยเขียนเล่าไว้ในหนังสือ Cheating Lessons: Learning from Academic Dishonesty ถึงสิ่งที่ค้นพบซึ่งได้สะท้อนให้เรากลับมาทบทวนเป้าหมายของการจัดการศึกษา นับเป็นประเด็นสำคัญที่ EDUCA อยากชวนครูทุกคนมาขบคิด และหาคำตอบร่วมกัน

ในการหยุดพฤติกรรมการโกงของนักเรียน ครูควรสอนเพื่อสร้าง ‘การเรียนรู้แบบรู้จริง’ มากกว่าสอนเพื่อสร้าง ‘การเรียนรู้ที่มุ่งสมรรถนะ’
          การสอนเพื่อการเรียนรู้แบบรู้จริง (mastery-oriented) มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียนเข้าใจบทเรียน ส่วนการเรียนรู้ที่มุ่งสมรรถนะ (performance-oriented) มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กได้แสดงออกซึ่งความสามารถ เมื่อนักเรียนให้ความสนใจกับคะแนนหรือเกรดเฉลี่ย มุ่งทำเกรดเฉลี่ยแซงหน้าเพื่อนคนอื่นๆ มากกว่าจะสนใจความสำคัญต่อสิ่งที่ตนได้เรียนรู้จากชั้นเรียน นักเรียนมีแนวโน้มที่จะโกงข้อสอบสูงมาก

เด็กโกง ครูต้องเลิกสอนแบบนี้

ข้อสอบที่ยากเกินไปทำให้เด็กเลือกที่จะโกงข้อสอบมากขึ้น
          ยิ่งมีความเครียดหรือความกดดันในการทำข้อสอบมากขึ้นเท่าไหร่ หรือถ้าหากข้อสอบหรือการประเมินนั้นมีความหมายที่สำคัญในทางที่จะสามารถเปลี่ยนชีวิตของนักเรียนคนหนึ่งได้ นักเรียนย่อมมีโอกาสที่จะตอบสนองต่อความกดดันด้วยวิธีการที่ไม่ซื่อสัตย์มากขึ้นเท่านั้น

เด็กโกง ครูต้องเลิกสอนแบบนี้

ความคิดเกี่ยวกับตัวเองมีผลอย่างมากต่อการเลือกที่จะโกงหรือไม่โกงข้อสอบ
          Lang พบว่านักเรียนที่คิดว่าตัวเองไม่มีความรู้ความสามารถหรือมีความรู้ความสามารถต่ำมีแนวโน้มที่จะโกงข้อสอบมากกว่าคนที่เชื่อว่าตัวเองมีความรู้ความสามารถสูง การสื่อสารหรือคำพูดจากครูจึงมีผลต่อนักเรียนเป็นอย่างมาก โดยทัศนคติที่ดีและการสอนโดยมุ่งส่งเสริมให้เด็กมองเห็นความสามารถของตนจะช่วยให้เขามั่นใจและภาคภูมิใจในตัวเอง ทั้งยังเชื่อมั่นว่าตัวเองจะสามารถทำข้อสอบได้โดยอาศัยความรู้ความสามารถของตน

อ้างอิงข้อมูล:
www.jamesmlang.com
www.theatlantic.com


TAG: #ประเมินผล #โกงข้อสอบ