Knowledge

ออกแบบการศึกษาที่สร้างภูมิคุ้มกันจากภายในและหนังสือที่ช่วยค้นหาแนวทางการดึงศักยภาพผู้เรียน
2 days ago 128หลายคนคงตั้งคำถามถึงการเรียนรู้ด้านใน (Inner Education) ไม่รู้ว่าคืออะไรกันแน่ ? หากทำตามสิ่งที่ เจมส์ คลาร์ก กล่าวว่าเราใช้ AI Deep seek ช่วยตอบว่าการเรียนรู้ด้านในคืออะไร พบคำตอบว่าเป็นกระบวนการ ซึ่งมี 3 ขั้นตอน คือ 1.) สำรวจ 2.) สร้าง 3.) เชื่อมโยง กล่าวคือ สำรวจตนเอง สร้างความเข้าใจตนเอง และเชื่อมโยงตนเอง
เมื่อถามว่าการเรียนรู้ด้านในมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญที่สะท้อนถึงการสำรวจตนเอง (self-exploration) การพัฒนาสติ (mindfulness) เชื่อมโยงกับค่านิยม ความเชื่อ (value & beliefs) เชื่อมโยงกับจิตวิญญาณ (spirituality) สะท้อนคิด (reflection)
คำว่า ‘จิตวิญญาณ’ (spirituality) คืออะไร และลักษณะ (spirituality well-being) สุขภาวะทางปัญญาเป็นอย่างไร ทั้งสองสิ่งนี้หมายถึง มีการเข้าใจตนเอง มีเป้าหมายในชีวิต เชื่อมโยงกับสิ่งที่สูงกว่า บางคนอาจจะเรียกว่าพระเจ้า หรือธรรมชาติ มีสติและสมาธิ สัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น นี่เป็นสิ่งที่ AI Deep Seek ได้บอกไว้
ซึ่งในทางหลักการ การเรียนรู้ เป็นที่รู้กันว่า เราเน้นทักษะการใช้เครื่องมือ (Hard Skills) ทักษะเพื่อการทำมาหากิน แต่ควรเพิ่มเติมทักษะทางจิตสังคม (Soft Skills) ความสัมพันธ์กับตนเอง ความสัมพันธ์กับผู้อื่น ความสัมพันธ์กับธรรมชาติและโลก โดยที่การเรียนรู้กลับไปกลับมา 2 แบบ แบบรู้ตัวและไม่รู้ตัว การเรียนรู้ด้านในเป็นการซึมซับตัวแบบอย่าง (Role Model) แล้วนำไปสู่การสร้างตัวตนขึ้นมาของแต่ละคนขึ้นมา ผมมองว่าเป็นตัวช่วยที่ดีของการสร้างตัวตน คือ 1.) Respect 2.) Recognition การให้ความยอมรับนับถือและความเคารพ
เราจะสามารถออกแบบหรือส่งเสริมการเรียนรู้ด้านในได้อย่างไร ?
เมื่อพูดถึงภายในนั่นหมายถึงจิตวิญญาณ วิธีส่งเสริมการเรียนรู้ด้านใน คือ การให้ฝึกสติและสมาธิ ส่งเสริมการสะท้อนคิด สร้างพื้นที่ปลอดภัย การสร้างสนามพลังบวก บูรณาการศิลปะและการแสดงออก และการมีแบบอย่างที่ดี (Role Model)
เมื่อเรียนรู้ภายในแล้วก็ต้องเรียนรู้ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ด้านนอกไปพร้อมกันด้วย ถ้าเรามีการฝึกตนเองที่สามารถจะทำให้เสริมกันไปมาซึ่งจะดีกว่า หรือตั้งคำถามว่า โมเดลจิตศึกษา เป็นตัวเชื่อมด้านในและด้านนอกใช่หรือไม่
วิธีการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญา วิธีที่จะทำให้มีความสุข คือ ฝึกสติและสมาธิ ค้นหาความหมายในชีวิต เชื่อมโยงกับธรรมชาติ ปฏิบัติตามหลักศาสนาหรือความเชื่อ ให้ความสำคัญต่อปฏิสัมพันธ์ การเชื่อมโยงกับธรรมชาติ ซึ่งในช่วงเช้าผมได้พูดคุยกับผู้ปกครองของคุณแม่พี่ ป.5 ก็ได้ทราบว่าการเดินป่า 5 กิโลเมตร สิ่งนั้นคือส่วนหนึ่งของการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญา
หัวใจสำคัญทั้งเรื่อง Inner เรื่อง Outer Learning ที่คนเราสร้างใส่ตัวเอง ไม่ใช่รับถ่ายทอด การรับถ่ายทอดนั้นดูผิวเผิน แต่ที่ลึกจริง ๆ คือการสร้างใส่ตัว และผ่านจุดที่สำคัญคือการสะท้อนคิดเชิงนามธรรม สามารถที่จะตั้งคำถามหนุน Facilitate ให้เด็กเรียนรู้ตามแนวที่ว่าผู้ใหญ่ทำอะไรบ้าง ไม่ทำอะไรบ้าง ผมคิดว่าพวกเราน่าจะช่วยกันตอบ
การศึกษาของเด็กในปัจจุบัน เด็กควรจะมีภูมิคุ้มกันในตัวเองอย่างเต็มที่ เพราะสังคมและโลกเต็มไปด้วยมายา สิ่งที่เข้ามาชักชวนที่จะเข้าไปในทางเสื่อมเสีย คำถามก็คือว่าเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันใส่ตัว การเรียนรู้ด้านใน เชื่อมโยงกับการเรียนรู้ด้านนอก ผู้ใหญ่ช่วยกระตุ้นให้เด็กสะท้อนคิดอย่างไรบ้าง เพื่อให้มีภูมิคุ้มกัน เพื่อคุ้มภัยอะไรบ้าง สารพัด ปัจจุบันมนุษย์มีความเครียดสูง
นอกจากจะมีประโยชน์ในด้านการศึกษาแล้วสุขภาวะทางปัญญาในชีวิต คือ ความเครียดลดลง เพิ่มความสุขความพึงพอใจในชีวิต สร้างความสัมพันธ์ เพิ่มความยืดหยุ่นทางจิตใจ และส่งเสริมสุขภาพโดยรวม
สรุปประเด็นจาก ปาฐกถาพิเศษ ของ ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช
“มหกรรมโรงเรียนจิตศึกษา” การขับเคลื่อน Inner Education ณ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา วันที่ 4-5 มีนาคม 2568
การศึกษาของเด็กในปัจจุบัน เด็กควรจะมีภูมิคุ้มกันในตัวเองอย่างเต็มที่ เพราะสังคมและโลกเต็มไปด้วยมายา สิ่งที่เข้ามาชักชวนที่จะเข้าไปในทางเสื่อมเสีย คำถามก็คือว่าเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันใส่ตัว การเรียนรู้ด้านใน เชื่อมโยงกับการเรียนรู้ด้านนอก ผู้ใหญ่ช่วยกระตุ้นให้เด็กสะท้อนคิดอย่างไรบ้าง เพื่อให้มีภูมิคุ้มกัน เพื่อคุ้มภัยอะไรบ้าง สารพัด ปัจจุบันมนุษย์มีความเครียดสูง
หนังสือ ค่านิยมศึกษา สู่คุณค่านำทางชีวิต (Value-based Education) เป็นหนังสือที่แนะนำว่าการเรียนในสมัยใหม่นั้นควรจะต้องเรียนเรื่องค่านิยมที่ดี เพื่อที่จะเป็นเข็มทิศชีวิต เพื่อเป้าหมายของการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ต้องมีทั้งทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 มีการพัฒนาแบบ Holistic Learning หรือการพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวม ซึ่งเป็นแนวคิดที่เน้นการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง เด็กต้องได้รับการพัฒนาทั้ง ค่านิยม (Values) เจตคติ (Attitude) ทักษะ (Skill) ความรู้ (Knowledge) รวมทั้งทักษะภายใน จิตศึกษา จิตตปัญญาศึกษา
เมื่อประมาณ 4-5 ปีที่ผ่านมา Sustainable Development Goals (SDGs) ที่จะให้โลกเรา Sustainable จะไปไม่รอดถ้าหากว่าไม่มีการพัฒนาด้านใน ไม่มีการเรียนรู้ด้านใน จึงมีการเสนอ IDG – Inner Development goal มี 5 มิติ 1.) Being การพัฒนาด้านใน 2.) Thinking อาจารย์ วิจารณ์ คิดว่าในส่วนนี้ควรที่จะเป็น Reflecting 3.) Relating 4.) Collaborating 5.) Acting
ท่านสามารถดาวน์โหลด Value-based Education ได้ที่ https://iamkru.com/values-based-education-ebook/
หนังสือ เรียนเปลี่ยนโลก ส่วนฉบับ Original ก็คือ Transformative learning เป็นเรื่องที่เล่าเกี่ยวกับ Schamacher College ที่ประเทศอังกฤษ ทำมา 30 ปี แล้วก็ฉลองครอบรอบ 30 ปี เมื่อปี ค.ศ. 2021 แนวคิดคล้าย ๆ ของครูใหญ่วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา เพราะเนื่องจากคนทำคือ สาทิศ กุมาร ได้รับคำท้าทายจากบอร์ดของตนเองว่าให้เวลาพิสูจน์เวลา 5 ปี ถ้าพิสูจน์ไม่ได้ปิด Schamacher College แต่แล้วก็อยู่มาได้จนถึง 30 ปี หนังสือเล่มนี้บอกว่าการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เพียงเพื่อเปลี่ยนแปลงตนเองเท่านั้นแต่ต้องเปลี่ยนแปลงสังคมด้วย และเป็นการเรียนรู้ 3 อย่างไปพร้อม ๆ กัน คือ Hands Heart Head หัวใจสำคัญในสายตาของอาจารย์หมอวิจารณ์ คือการเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดคือการลงมือทำ ที่จะให้มีความรู้เชิงลึก เมื่อลงมือทำแล้วก็ต้องคิดที่ไม่ใช่ thinking แต่เป็น reflecting แล้วก็ทั้ง reflect นำไปสู่หลักการในเชิงรูปธรรม และนามธรรม เราก็จะได้ตัว heart ไปด้วย
กล่าวโดยสรุปของหนังสือเล่มนี้ คือ ต้องเรียนทั้ง 3 ช่องทางไปพร้อม ๆ กัน คือ ทำเป็นตัวเริ่มต้นที่สำคัญ ทำแล้วรับรู้ แล้วก็รู้สึก Sensing, Feeling และ Reflecting หลังจากนั้นนำไปลองใหม่วนลูปไปเรื่อย ๆ และที่สำคัญที่สุด ไม่ใช่แค่ทำคนเดียวเท่านั้น แต่ควรทำร่วมกับเพื่อน ๆ (กัลยาณมิตร) เพราะมนุษย์เราคิดไม่เหมือนกัน
กล่าวถึง ระบบนิเวศ มองด้วยแว่นที่เรียกว่า ควอนตรัม ซึ่ง Quantum Theory เกิดขึ้นเมื่อ 100 ปีที่แล้ว ในปี 2568 ยูเนสโกฉลองครอบรอบ 100 ปี Quantum Theory ประเทศไทยมีการนำทฤษฎีเข้ามาใช้เมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา และมีคนที่อยากให้ผมเขียนหนังสือเรื่องควอนตรัมให้หน่อย ผมตอบว่าได้เพราะด้วยความสบายใจว่าถ้าไม่รู้ก็ถาม AI ซึ่งการมองโลกด้วยแว่นควอนตรัม มีหลักการอยู่ 4 ข้อ ได้แก่
- สรรพสิ่งเชื่อมโยงกันถึงกันหมด (inter-connectedness)
- เป็นศักยภาพ (potential) ไม่กำหนดตายตัว (fixed) เป็น to be ไม่ใช่ is ด้วยแว่นระบบนิเวศ
- ไม่แน่นอน (uncertainty) ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย
- หลอมรวมขั้วตรงกันข้าม แท้ที่จริงแล้วเป็นพวกเดียวกัน
เพราะฉะนั้นสิ่งต่าง ๆ ไม่ใช่สิ่งนี้ถูก สิ่งนี้ใช่ ไม่ใช่ คำตอบคือใช่ทั้ง 2 อย่าง นักไอทีทั้งหลายเขาพยายามที่จะสร้างควอนตรัมคอมพิวเตอร์ วิถีการวิ่งของควอนตรัมคอมพิวเตอร์คือ 0, 1, แล้วก็ 0, +1 พลังเพิ่มเป็นล้านเท่า นี่คือหัวใจของการมองโลก เราควรที่จะรู้จักการมองโลกให้เกิด Synergy เมื่อไหร่ก็ตามที่เราเอาดีใส่ตัวเองคนเดียว ดี แต่ไม่ดีที่สุด นี่คือหลักการของ Ecology mindset ซึ่งกล่าวไว้ในหนังสือ Tranformative Learning เล่มนี้
อาจารย์หมอวิจารณ์ได้เน้นย้ำมาตลอดว่าการเรียนรู้นั้นต้องเน้น Action หรือ ประสบการณ์ ‘วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์’
เรื่องที่เราอ่านเราจะรู้สึกว่าการเรียนรู้จากประสบการณ์นั้น ไม่ใช่การเรียนจากตาแล้วก็หู ตาดูหูฟังเท่านั้น เพื่อที่จะให้เห็นว่าที่เราเรียนเรื่องการเรียนรู้ หรือถูกฝึกสอนมา เราถูกทำให้แคบซึ่งในความเป็นจริงมันกว้างมากกว่านั้นมาก
หัวใจสำคัญที่สุดของการเรียนรู้จากประสบการณ์คือ เมื่อเราได้เข้าไปมีประสบการณ์ตรง คือ Concrete Experience ทันใดนั้นมนุษย์ทุกคนจะทำ Reflective Observation คือ การสังเกต แล้วก็สะท้อนคิด ซึ่งแต่ละคนจะสังเกตอย่างละเอียดลออมากแค่ไหนแล้วแต่บุคคล สะท้อนคิดเก่งแค่ไหน ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน
การฝึกสะท้อนคิดที่สำคัญ คือ ต้องไม่หยุดเพียงการสะท้อนคิดแล้วหยุดเพียงวิธีการเท่านั้น วิธีการดีแต่ต้องสะท้อนคิดไปสู่หลักการ ไปสู่ Conceptualisation หลักการหรือทฤษฎีที่เป็นนามธรรม เมื่อเราคิดได้ในระดับนั้น เราก็ควรที่จะฝึกตัวเองให้เข้าใจว่าเราอย่าเชื่อทั้งหมด ให้เชื่อครึ่ง ไม่เชื่อครึ่ง เพื่อนำไปสู่สถานการณ์ที่ใหม่กว่า ที่ดีกว่าเดิมหรือไม่ ถ้าฝึกอย่างนี้ไปตลอดเรื่อย ๆ นักเรียนที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา และโรงเรียนทั้งหลาย อาจารย์หมอวิจารณ์เชื่อว่าเด็กทั้งหลาย ได้หมุนวงจรเหล่านี้เป็นรอบ วันหนึ่งเป็นพันรอบ เพราะฉะนั้นเด็กก็จะติดนิสัยของการได้ฝึกการสังเกตและสะท้อนคิดอยู่ตลอดเวลา เราจึงมองเห็นเด็กไม่เหมือนกับเด็ก ๆ ทั่วไป เป็นสิ่งที่อาจารย์หมอวิจารณ์เข้าใจว่าอย่างนั้น ถูก-ผิด ซึ่งเป็นสิ่งที่พยายามตีความได้อย่างนั้น
โดยดาวน์โหลดไปอ่านได้จากหนังสือชุดหนังสือไตรภาค "การเรียนรู้ 'ขั้นสูง 'จาก ประสบการณ์" เล่ม 1-3’
เล่ม 1 – เรียนรู้สู่หัวใจที่ดีงาม
เล่ม 2 – ทำจริง เรียนจริง จนรู้แจ้ง
เล่ม 3 – มองนอก ออกแบบใน
ได้ที่ https://shorturl.asia/Snd1a