Video
EDUCA Cafe Podcast: จีนปรับการเรียนการสอน สู้ COVID-19 อย่างไร
4 years ago 6377EDUCA Cafe คุยกันภาษา Cool ครู EP.1 จีนปรับการเรียนการสอน สู้ COVID-19 อย่างไร เปิดโลกการเรียนรู้การจัดการเรียนการสอนช่วงวิกฤตโรคติดเชื้อ COVID-19 ที่ประเทศจีน ปรับการเรียนการสอน สู้โควิด-19 อย่างไร
Script
สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับครูผู้ฟังทุกท่าน เข้าสู่ EDUCA CAFÉ PODCAST คุยกันตามภาษา COOL...ครู กับดิฉัน นิภาพร กุลสมบูรณ์ หรือครูนินะคะ ปิดเทอมมานี้ครูคงอยู่ในระหว่างเตรียมการสอน บางคนอาจจะต้องไปเข้าเรียนที่โรงเรียน ปีนี้ไม่เหมือนกับทุกปีนะคะ เราเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 เราต้อง “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” และหยุดกันไปยาว ๆ อย่างนี้ นอกจากเราจะต้องฟังข่าวสารทุกวัน ตึงเครียดกับโรคระบาด เรายังมีเรื่องที่จะต้องเตรียมตัวสำหรับเปิดเทอมใหม่
วันนี้ครูนิจะมาช่วยคุณครู update ความรู้จากต่างประเทศ และเรียนรู้ว่าในสถานการณ์วิกฤตต่างๆ เหล่านี้ ประเทศต่างๆ เขารับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง เราไปเริ่มต้นกันที่จีนค่ะ ที่ปักกิ่งนี่ ซึ่งเป็นประเทศแรกๆ เลยที่ได้รับผลกระทบจากโรคนี้นะคะ ที่ปักกิ่งนี่ ตอนนี้โคโรนาไวรัส หรือว่าโควิด-19 บุกจีนอย่างหนัก ครูที่ปักกิ่งมีเวลาในการเตรียมตัวไม่ถึงสัปดาห์ในการเรียนหนังสือแบบออนไลน์ ต้องติดตั้งโปรแกรมต่างๆ ที่เขาไม่เคยเรียนมาก่อน ซึ่งอาจจะมีทั้งคนที่ใช้เป็น และคนที่ใช้ไม่เป็น แต่เขาก็ช่วยกันนะคะ ตอนที่รัฐบาลมีการห้ามคนออกนอกโรงเรียน หรือว่าออกนอกที่อยู่อาศัย เขาเรียนออนไลน์ก็มีคุณครูต้องทำงานอย่างหนัก ช่วงสัปดาห์แรกๆ นักเรียนต้องยืดหยุ่นและอดทนกันอย่างมาก เพราะว่าเจอปัญหาหลายอย่าง แต่อย่างไรก็ตามช่วงเวลาไม่ถึง 1 เดือน เด็กและครูก็ปรับตัวได้อย่างรวดเร็วค่ะ คุณครูจีนที่ปักกิ่งเขาก็ไม่ได้ออกแบบการสอนด้วยการ lecture อย่างเดียว มีการมอบหมายให้เด็กๆ ไปทำโครงงาน หรือว่าจัดการเรียนการสอน และมอบหมายงานให้เด็กๆ ส่งมาในรูปแบบวิดีโอ รูปภาพ หรือแม้กระทั่งถ่ายภาพในกระดาษ หรือสมุดที่เขาจดไว้มาส่งคุณครูก็ได้ เรียกได้ว่าครูจีนก็มีการปรับตัวในเรื่องนี้มากๆ เลยนะคะ
ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้นะคะ ก็มีการเปลี่ยนแปลงเหมือนกัน ในฮ่องกงตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาแล้ว โรงเรียน ครู ก็มีการสอนที่สำนักงานพัฒนาการศึกษาเขาได้ออกแบบมาเป็นการสอนแบบออนไลน์นะคะ และสภาการศึกษาของฮ่องกง และมีการสำรวจว่าอาจารย์เจอปัญหาอะไรบ้าง ทราบไหมคะ 80% ของคุณครู เขาบอกว่าเขาใช้เวลาในการเตรียมตัวสอนออนไลน์มากกว่าที่เคยเตรียมแบบเดิมๆ ก็คุณครูก็ต้องปรับตัวนะคะในเรื่องนี้ และคุณครูก็ยังมีปัญหาว่า เวลาจะพูดคุยตอบโต้กับนักเรียนเป็นรายบุคคล หรือว่าการพูดคุยนี่ คุณครูจะใช้เทคนิค หรือว่า application อะไรมาช่วยได้บ้าง นอกจากนี้ คุณครูมากกว่า 1 ใน 3 ยังสนับสนุนให้มีการปิดโรงเรียนต่อไปหลังจากวันที่ 20 เมษายน หากยังมีความจำเป็นอยู่
มาดูกันที่เซี่ยงไฮ้ค่ะ สำหรับสิ่งที่สำคัญและน่าสนใจสำหรับเซี่ยงไฮ้ก็คือ ที่เซี่ยงไฮ้เขาไม่ได้ใช้ออนไลน์ค่ะ โดยเฉพาะกับนักเรียนประถม เขาใช้วิธีการเผยแพร่บทเรียนผ่านทีวีสาธารณะทุกวัน แต่ว่าคุณครูกับนักเรียนจะสื่อสารกันนะคะ โดยใช้ application ส่งการบ้าน ครูก็จะมีการติดต่อพูดคุยกับนักเรียนในชั้นเรียนของตัวเอง ครูที่เซี่ยงไฮ้ก็บอกเหมือนกันค่ะว่า เวลาเปลี่ยนแปลงมาแล้วต้องเตรียมการเรียนการสอนใช้เวลามากกว่าปกติ และก็ที่สำคัญเรื่องการตรวจการบ้านออนไลน์ก็เป็นเรื่องใหม่สำหรับครูหลายๆ คนที่เซี่ยงไฮ้เหมือนกัน และก็เขายังมีข้อจำกัดในการเตรียมตัว
แต่อย่างไรก็ตามทั้งหมดก็คือความเคลื่อนไหวที่จีน นิมีประเด็นสำคัญที่เราน่าจะเรียนรู้และนำไปใช้ก็คือเรื่องของการปรับตัว คือทุกคนปรับตัวสู่โลกออนไลน์ และการสอนทางไกลอย่างรวดเร็ว และสามารถทำได้ดีด้วยนะ ทั้งครูและนักเรียน คือเขาเรียนรู้ที่จะใช้เครื่องมือเครื่องไม้ใหม่ๆ application หรือว่าการสั่งงานแบบใหม่ หรือว่าการทำโครงงาน และครูกลับมาตรวจแบบออนไลน์ หรือว่าจะให้ feedback ผ่าน application ต่างๆ สาม คือ การประยุกต์ใช้ ครูและนักเรียนจะต้องรู้จักบริบทของพื้นที่ของตนเองนะคะ เขาต้องเรียนรู้ด้วยว่าเด็กของเขามีอุปกรณ์อะไรอยู่ในมือ
นิชวนคิดสั้น ๆ ว่า ที่เซี่ยงไฮ้ทำไมเขามีการจัดการเรียนการสอนผ่านทีวี และโทรทัศน์นี่เป็นคำถามที่น่าสนใจ และมีที่อื่น หรือประเทศอื่นๆ อีกไหมที่ใช้วิธีการอย่างเดียวกัน อยากรู้เรื่องนี้ต้องตาม กลับมาพบกันใหม่ในตอนต่อไปค่ะ เราจะไปเรียนรู้กันว่าที่สหรัฐอเมริกาและแคนาดา เขาปรับตัวสู่โควิด-19 กันอย่างไร ติดตามให้ได้นะคะ สำหรับวันนี้ สวัสดีค่ะ