Video

EDUCA Cafe Podcast: Home-based Learning สู้โควิด-19 ฉบับสิงคโปร์

 4 years ago 4435

ที่สิงคโปร์กำลังจะเปิดภาคเรียนการศึกษา แต่สถานการณ์โควิด-19 ดูยังไม่จบลงง่ายๆ มาดูการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนครั้งใหญ่ของประเทศนี้กัน โดยความร่วมมือของกระทรวงศึกษาธิการ กับกระทรวงการพัฒนาสังคมและครอบครัว บูรณาการเครื่องมือทั้งเรื่องการเรียนรู้ และความเป็นอยู่ของเด็กๆ ที่เรียกว่า Home-based Learning (HBL) เริ่มวันที่ 8 เมษายน - 4 พฤษภาคม 2563 มาดูแนวทางการจัดการของการใช้ระบบ Home-Based Learning ของประเทศสิงคโปร์สำหรับเด็กๆ ระดับชั้น ประถมฯ มัธยมฯ และอุดมศึกษา กัน
อ้างอิงจาก Press Release ของเว็บไซต์ https://www.moe.gov.sg/news/press-releases

Script

สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับครูผู้ฟังทุกท่าน เข้าสู่ EDUCA CAFÉ PODCAST คุยกันตามภาษา COOL...ครู กับดิฉัน นิภาพร กุลสมบูรณ์ หรือครูนิค่ะ วันนี้เราจะมา update ข่าวที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเทศสิงคโปร์กันค่ะ เป็นข่าวที่น่าสนใจและก็น่าตื่นเต้นมากสอดคล้องกับสถานการณ์ตอนนี้มากนะคะ มีข่าวประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกระทรงศึกษาธิการของสิงคโปร์ค่ะว่า กำลังมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนครั้งใหญ่เลย เพราะว่าสิงคโปร์ช่วงนี้อยู่ในช่วงเปิดเทอมของเขานะคะ แล้วก็จำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์โรคระบาด โควิด-19 ที่ยังมีสถานการณ์ที่ค่อนข้างจะยังน่าเป็นห่วงอยู่ ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการของสิงคโปร์ร่วมมือกับกระทรวงสังคมและครอบครัว หรือว่ามีชื่อย่อว่า MSF นะคะ ร่วมกันที่จะบูรณาการพัฒนาเครื่องมือตัวใหม่ที่จะมาช่วยพัฒนาการเรียนรู้และความเป็นอยู่ที่ดีของเด็กๆ ทั้งความเป็นอยู่ในเรื่องการเรียนรู้และความเป็นอยู่ในช่วงวิกฤตนี้นะคะ โดยรัฐได้บูรณาการกระทรวงที่เกี่ยวข้องดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า 2 กระทรวงนี้มาร่วมกันจัดทำการรองรับแผนการเรียนการสอนที่มีชื่อว่า Home-Based Learning หรือ HBL ซึ่งการเรียนแบบนี้จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน ถึง 4 พฤษภาคมก็เกือบ 1 เดือนนะคะ ซึ่งจะจัดการเรียนการสอนทั้งในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา มหาวิทยาลัย ตลอดจนโรงเรียนที่จัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ส่วนในระดับปฐมวัยหรือในระดับ pre-school ก็จะให้มีการปิดไปชั่วคราวค่ะ

หลังจากที่ได้มีการทดลองการเรียนการสอนแบบ Home-Based Learning มา 1 วันต่อสัปดาห์มาก่อนหน้านี้แล้วนะคะ ตอนนี้ก็เรียกได้ว่าเป็นการจัดการเรียนการสอนที่เต็มรูปแบบเลย full-scale เลยในช่วงเวลาต่อไปนี้ ซึ่งโรงเรียนมีเรื่องที่จะต้องดำเนินการหลายเรื่องนะคะ ได้แก่ เรื่องที่หนึ่ง จะต้องจัดหาคู่มือแนวทางในการจัดการเรียนการสอน และก็สนับสนุนเด็กๆ ให้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ หรือว่า resource ทั้งในรูปแบของออนไลน์และเอกสารต่างๆ สอง โรงเรียนจะต้องช่วยเด็กๆ ที่มีความต้องการในเครื่องมือเครื่องไม้ดิจิทัล รวมทั้งเด็กที่มีปัญหาในเรื่องการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต สร้างความพร้อมให้กับครอบครัวและเด็กๆ ด้วยนะคะ เรื่องที่สาม คือ ครู นักเรียน เจ้าหน้าที่โรงเรียน พ่อแม่ จะต้องทำงานประสานงานกันอย่างเข้มข้น โดยที่ครูและเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนจะต้อง stand by ทำงานทั้งที่บ้านและโรงเรียนสลับกัน เพื่อที่จะช่วยเหลือเด็กๆ ในการเรียนรู้ และผู้ปกครอง หากมีปัญหาในเรื่องการเรียนรู้นะคะ นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่จะต้องเป็นผู้ประสานงานกับผู้ปกครองในเรื่องการสนับสนุนเรื่องต่างๆ และสำหรับครูที่สอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษนะคะ จะต้องมีการปรับแผนการเรียนรู้ให้มีความสอดคล้องกับเด็กๆ กลุ่มนี้ด้วย ที่สำคัญก็คือจะต้องสื่อสารกับผู้ปกครองให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบนี้ด้วยนะคะ

สำหรับรูปแบบการประเมินและการสอน หลักการที่ยึดสำคัญก็คือ จะต้องจัดลำดับความสำคัญและจำเป็นที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนเรื่องการสอบ ก็คือ จะมีการยกเลิกการสอบกลางภาคนะคะ แต่ว่าการสอบในระดับประเทศก็ยังคงที่จะจัดอยู่ในเดือนมิถุนายนก็ยังมีอยู่ตามเดิม อย่างไรก็ตามรัฐบาล และกระทรวงทั้ง 2 ก็ยังจะต้องประเมินสถานการณ์กันอย่างใกล้ชิด และ update กันอย่างต่อเนื่องค่ะ

ที่สำคัญมีอีกเรื่องหนึ่งก็คือเรื่องที่เขาใช้ชื่อว่าเป็นการผสมผสานระหว่าง face-to-face หรือการเผชิญหน้ากับการใช้ E-Learning นะคะ เพื่อที่จะพัฒนาสิ่งที่เรียกว่า IHL หรือ Institute of Higher Learning นะคะ อันนี้จะเป็นเรื่องของอุดมศึกษาที่จะต้องปรับหลักสูตร และต้องมีโมดูลที่ชัดเจนในเรื่องการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษานะคะ เพื่อที่จะให้นักศึกษาจบการศึกษาได้ตามที่กำหนดไว้

อย่างไรก็ตาม เมื่อกี้พูดไปแล้วนะคะสำหรับกลุ่มเด็กเล็กหรือว่า pre-school หรือ Student Care Centre นี่ ในช่วง 8 เมษายน – 4 พฤษภาคมนี่ โรงเรียนเหล่านี้จะต้องปิดก่อน หรือว่าศูนย์ที่ดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กเล็กเหล่านี้จะต้องปิดและให้เด็กๆ อยู่กับครอบครัวนะคะ อย่างไรก็ตามรัฐบาลให้ความสำคัญค่ะ สำหรับผู้ปกครองที่มีความต้องการที่จะให้ช่วยเหลือดูแลเด็กจริงๆ และไม่มีทางเลือกอื่นเลยในการดูแลเด็ก เช่น ลูกของหมอ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ยังต้องทำงานอยู่ในช่วงนี้ และไม่มีเวลาดูแล รัฐก็จะเข้ามา service มีบุคลากรเข้าไปช่วย support ในช่วงนี้ และก็จัดงบประมาณสนับสนุนเต็มที่ในเรื่องนี้ค่ะ

เพราะฉะนั้นในเรื่อง Home-Based Learning ถือว่าเป็นเรื่องที่รัฐเตรียมตัวมาระยะหนึ่ง ทดลองใช้ก่อน และตอนนี้ก็จะเป็นรูปเป็นร่าง เต็ม scale ในโรงเรียนของสิงคโปร์ค่ะ และก็มีการจัดเตรียม resource ต่างๆ ไว้ในการที่จะช่วยเหลือดูแลเด็ก ทั้งการเรียนที่บ้าน และสื่อสารกับผู้ปกครองนะคะ ที่สำคัญก็คือบุคลากรทางการศึกษา และเจ้าหน้าที่จะประสานงานกับผู้ปกครองของเด็กอย่างสม่ำเสมอค่ะ

โดยสรุปก็คือ รัฐบาลสิงคโปร์มีการบูรณาการความร่วมมือของหลายกระทรวงเพื่อที่จะจัดการศึกษาได้ตอบสนองกับความต้องการ และสถานการณ์ที่ยังอยู่ในช่วงวิกฤตนี้นะคะ ทั้งในระดับเด็กเล็กที่มีการปิดไปก่อน แต่ว่าก็ให้การ support ถ้าผู้ปกครองมีความจำเป็น และก็เด็กประถม เด็กมัธยมที่ยังคงสื่อสารกัน และยังเรียนรู้ด้วยระบบที่เรียกว่า Home-Based Learning นะคะ และสื่อสารกันผ่าน telecommunication ตลอด เพื่อที่จะจัดการศึกษาได้อย่างต่อเนื่อง และก็เพื่อความปลอดภัยของทุกๆ คน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน คุณครู เจ้าหน้าที่ บุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งสาธารณชนอื่นๆ ด้วยนะคะ

อันนี้เป็นภาพรวมและ update ข่าวล่าสุดจากโรงเรียนที่สิงคโปร์ค่ะ แล้วเรามาพบกันใหม่นะคะในการ update ข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องสถานการณ์ที่คุณครูจะรับมือกับวิกฤตการณ์นี้ และเรียนรู้จากต่างประเทศค่ะ สำหรับคุณครูที่สนใจนะคะ ติดตาม EDUCA ได้ที่ www.educathai.com เรายังมี เฟซบุ๊กและก็ไลน์@ มี Youtube รวมทั้ง podcast ที่อยู่ใน podbean นะคะ โหลดมาฟังกันได้จะได้เป็นแฟนประจำกันต่อไป มีข่าวอะไรที่น่าสนใจ นิจะมา update กันในครั้งต่อไป สำหรับวันนี้ สวัสดีค่ะ


TAG: #EDUCAPodcast #การจัดการเรียนรู้ #โควิด19 #Covid19 #Home-based Learning #HBL #สอนออนไลน์ #โรคระบาดใหญ่ #การจัดการเรียนการสอนต่างประเทศ #การจัดการเรียนการสอนออนไลน์