Video
EDUCA Cafe Podcast: แก้ Crisis ด้วย CRISIS ปรัชญาการสอนสไตล์ครูๆ
4 years ago 2289EDUCA CAFÉ Podcast คุยกันตามภาษาครู Cool ยังอยู่กับเรื่องการปรับแก่นความคิด ปรัชญาการสอนของครูภายใต้สถานการณ์ วิกฤตการณ์โควิด 19 EDUCA อยากให้ครูถามตัวเองด้วยชุดคำถามต่อไปนี้ ซึ่งจำง่ายโดยใช้ CRISIS ย่อมาจาก Capability: (สมรรถภาพ), Reliability: (ความน่าเชื่อถือ) ,Inability: (สิ่งที่ไม่สามารถทำได้),Suitability: (ความเหมาะสม) ,Ingenuity: (ความช่างคิด/ความฉลาด) และ Sustainability: (ความยั่งยืน) ทำให้รู้สึกคิดได้ชัดเจน วางแผนได้สอดคล้องกับความเชื่อ หรือปรัชญาการสอนของท่าน
อ้างอิง:
Tombrella, A. (2020, May 18). Revising Your Teaching Philosophy for This Crisis. Retrieved June 4, 2020, from https://www.edutopia.org/article/revising-your-teaching-philosophy-crisis
Script
สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับครูผู้ฟังทุกท่าน เข้าสู่ EDUCA CAFÉ PODCAST คุยกันตามภาษาครู...COOL กับดิฉัน นิภาพร กุลสมบูรณ์ หรือครูนินะคะ วันนี้เราจะมาคุยกันต่อค่ะ ถึงการปรับปรัชญาการสอนของครูภายใต้สถานการณ์วิกฤตการณ์ COVID-19 เรื่องนี้นะคะ ตามที่ทีม EDUCA ได้บอกแล้วว่าเราเรียบเรียงจากบทความ “Revising Your Teaching Philosophy for Distance Learning" จากเว็บไซต์ Edutopia.org ซึ่งเขียนโดยคุณครู Aaron แล้วก็เราจะมาต่อกันจากคราวที่แล้วนะคะ
ถ้าจำกันได้คุณครู Aaron กล่าวถึงปรัชญาการสอนของเขา ว่าประกอบด้วย 3 ข้อความสั้นๆ ก็คือ CPR C ย่อมาจากประโยคที่ว่า Concepts are crucial. มโนทัศน์หรือคอนเซ็ปต์เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง แล้วก็เรื่องที่ 2 นะคะ Process over product. กระบวนการสำคัญเหนือกว่าผลผลิต เรื่องที่ 3 ก็คือ Relationships rule. กฎของความสัมพันธ์ 3 เรื่องนะคะ CPR มโนทัศน์สำคัญ กระบวนการสำคัญกว่าผลผลิต และเป็นของความสัมพันธ์ที่มีความสำคัญเช่นเดียวกัน
จากปรัชญาการสอนของคุณครูนะคะ คุณครูก็นำมาคิดทบทวนแล้วก็ตระหนักได้ทันทีเลยว่า จากการสอนคราวที่แล้วตนเองเอากระบวนการสอนในห้องเรียนเนี่ยไปเชื่อมโยงกับโปรแกรมออนไลน์แล้วก็สอนเหมือนเดิมทุกอย่างเนี่ย มันเป็นความผิดพลาดที่ผ่านไปแล้วนะคะ คุณครูก็เลยกลับมาทบทวนแก่นคิดของตัวเองใหม่ แล้วก็จัดการเรียนการสอนเชิงรุกที่พร้อมจะสอดคล้องกับปรัชญาการสอนของเขาเอง
โดยคุณครู Aaron มีข้อแนะนำกับเพื่อนครูดังนี้ค่ะ ว่าอยากให้คุณครูถามตัวเองด้วยชุดคำถามต่อไปนี้ มีอยู่ประมาณ 6 เรื่องสำคัญนะคะ ซึ่งคุณครู Aaron ใช้คำศัพท์ง่าย ๆ ให้เราจำได้ง่าย ๆ เลยก็คือคำว่า CRISIS หรือวิกฤตการณ์ค่ะ
CRISIS ตัว C ตัวแรกย่อมาจากคำว่า Capability คือ ความสามารถ คุณครูต้องกลับไปทบทวนค่ะ จากความเชื่อของตัวเอง ครูต้องรู้ว่าอะไรคือความสามารถที่มีจำเป็นที่จะทำให้นักเรียนของเราเรียนรู้ได้ดี ทั้งการเรียนรู้ของนักเรียนและการเรียนรู้ของครูเองด้วย ตัวที่สองนะคะ R มาจากคำว่า Reliability ค่ะ ความน่าเชื่อถือ แผนการจัดการเรียนรู้ต่างๆ ที่คุณครูเตรียมไว้ โปรแกรมซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่เราจะใช้มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ มีความคงเส้นคงวาหรือไม่ ถ้าเกิดเราจะใช้กับนักเรียนของเรา ต้องทบทวนเรื่องนี้ด้วยค่ะ R - ความน่าเชื่อถือ เรื่องที่สามนะคะ Inability - I เราต้องคิดค่ะ ว่ามีอะไรที่เราสามารถทำได้ และอะไรที่เราทำไม่ได้ มีอะไรบ้างที่เราทำไม่ได้ในสถานการณ์นี้ ตัวที่สี่ค่ะ S ย่อมาจาก Suitability ความเหมาะสม จากการที่เราวางแผนไว้ เราต้องทบทวนค่ะว่า แผนของเรามีความเหมาะสมในสถานการณ์ช่วงนี้หรือเปล่า และตัวที่ห้านะคะ I อีกครั้งนึง I ตัวนี้ย่อมาจากคำว่า Ingenuity ก็คือความช่างคิด ความฉลาด ทำอย่างไรให้แผนการจัดการเรียนรู้ของเราเป็นเรื่องของสิ่งที่ช่างคิด สิ่งที่สามารถคิดค้นสิ่งใหม่ เพื่อที่จะตอบสนองสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ก็ยังคงยึดมั่นต่อปรัชญาการสอนหรือความเชื่อของเราได้ และตัวสุดท้ายค่ะ คือตัวอักษร S - Sustainability ความยั่งยืน ตัวนี้นะคะ คุณครูต้องกลับไปพบและก็คิดอีกครั้งหนึ่งว่า สิ่งที่ครูจะวางแผนจัดการเรียนรู้ มีความยั่งยืนในระยะยาวหรือไม่นะคะ
ทวนกันอีกครั้งหนึ่งนะคะ ในการที่จะเชื่อมโยงปรัชญาความคิดความเชื่อของเรามาสู่การปฏิบัติ คุณครูต้องนึกถึงคำว่า CRISIS แต่ละตัวก็มีตัวย่อที่แตกต่างไป คือ Capability, Reliability, Inability, Suitability, Ingenuity แล้วก็ Sustainability แต่ละตัวลองไปทบทวนนะคะ ว่าคืออะไรบ้าง
ครู Aaron ใช้คำถามเหล่านี้ ในการทบทวนปรัชญาการสอนของตัวเองค่ะ แล้วก็ค่อย ๆ มาวาง แล้วก็จัดวิธีการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ โดยจะต้องตอบสนองคำถามเหล่านั้น แล้วเขาถามตัวเองให้ทบทวนอยู่เสมอว่าอะไรคือเรื่องที่สำคัญที่สุด ถ้าครูคิดได้อย่างนี้นะคะ ครูก็สามารถที่จะออกแบบกระบวนการเรียนรู้ สร้างสรรค์ใบงาน สื่อการสอน ใช้ซอฟต์แวร์ต่างๆ โปรแกรมต่างๆ จนกระทั่งกำหนดกระบวนการประเมินผลการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่สุดค่ะ
สิ่งที่ครูต้องทำนะคะ ก็คือทบทวน แล้วก็คิดถึงองค์ประกอบของคำว่า CRISIS ค่ะ คุณครู Aaron เชื่อว่า อันนี้เป็นความคิดและสิ่งที่คุณครูปฏิบัติมา คุณครูก็อยากจะแชร์ให้กับเพื่อนครูนะคะได้ลองไปทบทวนอีกครั้งหนึ่งเกี่ยวกับปรัชญาการสอนของคุณครูเอง แล้วก็กลับมาทบทวนการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของคุณครูค่ะ จะใช้เทคนิคของคุณครู Aaron ไปก็ได้นะคะ และนี่ก็คือการเชื่อมโยง ทบทวนตัวเองอีกครั้งจากความคิดความเชื่อสู่การปฏิบัติ อยากให้ครูไทยของเราทุกคน ได้มีโอกาสที่จะทบทวนนะคะ เพื่อพลิกวิกฤตการณ์นี้ให้เป็นประโยชน์ต่อตัวเราและก็ลูกศิษย์ของเราค่ะ
สำหรับวันนี้ EDUCA ก็คงจะนำเสนอเรื่องราวเพียงเท่านี้ ยังคงเป็นกำลังใจให้กับคุณครูทุกคน ใกล้เปิดเทอมแล้วนะคะ เรามาทบทวนความเชื่อของเรา ปรัชญาในการสอนของเรา ผ่านหลักการที่เรียกว่า CRISIS แล้วก็วางแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีเอกลักษณ์ เหมาะกับเรา และนักเรียนของเรากันเถอะค่ะ
หากครูสนใจจะ update ความรู้ และติดตามความรู้เรื่องใหม่ๆ ติดตามฟัง podcast ของ EDUCA CAFÉ ได้ใน podbean หรือว่า Youtube ของ EDUCA เอง เรามีเฟซบุ๊ก และ Line@ ของ EDUCA นะคะ สนใจมากๆ เข้าไปติดตามได้ใน www.educathai.com แล้วพบกันใหม่ในครั้งต่อไปค่ะ สวัสดีค่ะ