Knowledge

เจาะลึก/เรียนรู้เครื่องมือสร้างสรรค์ห้องเรียนนวัตกรรม ของครู CDI' ปล่อยของ (ตอนที่ 1)

เจาะลึก/เรียนรู้เครื่องมือสร้างสรรค์ห้องเรียนนวัตกรรม ของครู CDI' ปล่อยของ (ตอนที่ 1)

 3 years ago 2346

          EDUCA พาครูไปรู้จักสื่อการเรียนการสอนนวัตกรรม จากครูนวัตกรทั้ง 10 ทีมที่ได้รับรางวัลจากโครงการ CDI' Lab (Creative Design Innovators' Classroom) หรือ โครงการออกแบบห้องเรียนนวัตกร ของ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) โดยผลงานสื่อการเรียนการสอนนวัตกรรมแต่ละชิ้น ต้องผ่านการเรียนรู้ การตรวจสอบหลายขั้นตอน ผ่านกระบวนการบ่มเพาะติดอาวุธสูตร 4x3x2x1 ซึ่งประกอบด้วย 4 Labs 3 Online Workshops 2 Mentors และ 1 CDI’ ปล่อยของ 

          ในตอนที่ 1 พาเจาะรายละเอียด 3 ทีมแรกที่ได้รับรางวัล และได้ไปจัดแสดงผลงานต้นแบบในโครงงาน CDI' ปล่อยของ ที่ อาคารอุทยานนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) มีทีมอะไรบ้างนั้น เลื่อนลงไปดูกันได้เลย

ทีมที่ 1 ชุดกิจกรรม “สร้างนวัตกรน้อย”
สร้างสรรค์โดย
• ครูปุ๊ - สุดารัตน์ สัจจวิโส
• ครูต้นกล้า - พีระภัทร์ บุญสงค์
จาก โรงเรียนมาบอำมฤตวิทยา
ลักษณะของเครื่องมือ: Game & Activity
👨‍👧‍👧ผู้เล่น 5-7 คน
⏰ระยะเวลาในการเล่น 150 นาที
สื่อการเรียนการสอนนวัตกรรมชิ้นนี้ อยู่ในกระบวนการสร้างนวัตกรรม STEAM4INNOVATOR : 4 Stages

สาระความรู้ที่ผู้เล่นได้รับ:
สื่อการเรียนการสอนนวัตกรรม “สร้างนวัตกรน้อย” สื่อการเรียนการสอนชิ้นนี้จะพาผู้เล่นไปสนุกกับกระบวนการสร้างนวัตกร STEAM4INNOVATOR ครบทั้ง 4 Stages เลย ฝึกการหา insight การคิดหาไอเดีย ต่อยอด การสร้างผลงานต้นแบบ Phototype และการพัฒนาผลงานสู่การเป็นนวัตกรรม

วิธีการ:
>Stage 1 Insight พาเล่นเกมส์ โดยใช้ AI หรือน้อง Nania ในการฝึกหา Insight ในชุมชนและระบุ Target Persona เพื่อนำไปสร้างประโยค Challenge
>Stage 2 Wow Idea การคิดหาไอเดียและ Brainstorm กันด้วยวิธีการต่อยอดไอเดียแบบ Critical thinking (Yes, but…) และ Creative thinking (Yes, and…) และนำมาใส่ตารางเช็คลิสความมีคุณค่าในการสร้างนวัตกรรมว่ามากน้อยและทำได้ยากง่ายเพียงใด
>Stage 3 Business Model การสร้างผลงานต้นแบบ Phototype หาเครือข่ายความร่วมมือ ทดสอบไอเดียและสมมติฐานที่เรามีกับลูกค้า เพื่อขอรับข้อคิดเห็นในไปปรับปรุงงานให้ดึงดูดความสนใจลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น
>Stage 4 Production and Diffusion การใช้ Star model เพื่อพัฒนาผลงานสู่การเป็นนวัตกรรม ประกอบด้วย Situation – สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ Pain point หรือปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย Task – ทางเลือกที่จะสร้างหรือพัฒนาคือสิ่งใดบ้างเพื่อแก้ปัญหา Pain point ข้างต้น Action –สิ่งที่เราลงมือทําหรือสร้างขึ้นและความพิเศษของนวัตกรรมของเราคืออะไร Result – ผลลัพธ์ของการใช้งาน
ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมของกระบวนการสร้างนวัตกรรม STEAM4INNOVATOR https://facebook.com/STEAM4INNOVATOR

ทีมที่ 2 การผจญภัยครั้งใหม่สู่การเป็นนวัตกร..กับการสร้างสรรค์ไอเดีย
สร้างสรรค์โดย
• ครูตุลย์ - ขุนทอง คล้ายทอง
จาก โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี
• ครูปุ้ม - กมลรัตน์ ฉิมพาลี
จาก โรงเรียนถนนหักพิทยาคม
ลักษณะของเครื่องมือ: Game & Activity
👨‍👧‍👧ผู้เล่น 16-20 คน
⏰ระยะเวลาในการเล่น 120 นาที
สื่อการเรียนการสอนนวัตกรรมชิ้นนี้ อยู่ในกระบวนการสร้างนวัตกรรม STEAM4INNOVATOR : Stage 2 สร้างสรรค์ไอเดีย

สาระความรู้ที่ผู้เล่นได้รับ: กิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Active Learning ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม และมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ ด้วยคำถามที่ว่า ถ้าฝนตก จะเกิดอะไรขึ้น ? โดยการทำกิจกรรมทั้งเป็นรายบุคคล และกลุ่ม ในเรื่อง wow idea ซึ่งจะเป็นการคิดค้นวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลาย

วิธีการ:
โดยในห้องจะเริ่มจากการตั้งสถานการณ์สมมติว่า ถ้าฝนตก จะเกิดอะไรขึ้น ? จากนั้นทุกคนกิจกรรมเกมส์บันไดงูสู่การสร้างสรรค์ไอเดีย ผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Active Learning ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม และมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ โดยคุณครูจะเล่าสถานการณ์สมมติว่ามีเพื่อนสมาชิกในกลุ่มของนักเรียนถูกมังกรจับตัวไปนักเรียนจะต้องไปช่วยนำตัวเพื่อนกลับมา แต่ระหว่างการออกตามหามังกรก็ได้ทำให้ฝนตกหนัก นำไปสู่การเรียนรู้กระบวนการสร้างนวัตกรรม STEAM4INNOVATOR
>Stage 1 Insight รู้ลึก รู้จริง ซึ่งจะให้นักเรียนระดมสมองในแต่ละกลุ่มเพื่อทำนายว่าจะเกิดปัญหา อุปสรรคใดขึ้นบ้างเมื่อเกิดเหตุการณ์ฝนตก คุณครูจะนำกระดาษ A4 จำนวน 64 ใบที่เขียนเลข 1-64 ไว้แจกทุกกลุ่ม 4 กลุ่มเท่าๆกัน และให้ทุกคนช่วยกันเขียนปัญหาใส่กระดาษที่ได้รับ ใบละ 1 ปัญหา และนำไปแปะที่ผนังรอบๆ ห้อง การวิเคราะห์หาที่มาของปัญหาต่างๆ เป็นกระบวนการแรกที่สำคัญของการสร้างนวัตกรรม ผู้สร้างจะต้องเข้าถึงปัญหา และที่มาอย่างลึกซึ้ง เพื่อที่จะออกแบบนวัตกรรมมาได้ตรงความต้องการ และสามารถแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง จากนั้นคุณครูเริ่มนำเข้าสู่กิจกรรมต่อไป
>Stage 2 Wow Idea ร่วมกันระดมความคิด สร้างสรรค์ไอเดียออกมา เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ และ debate กันถึงไอเดียที่ว้าว ที่สุดอย่างสร้างสรรค์ โดยให้ทีมที่ 1 เริ่มทำการทอยลูกเต๋าเพื่อเริ่มเกม แล้วนำตัวเดินไปวางในตำแหน่งเลขที่เคลื่อนที่ไปถึง จากนั้นนักเรียนจะต้องวิ่งหาปัญหาที่ตรงกับเลขที่ได้ แล้วทำการเขียนแนวทางในแก้ปัญหาลงในกระดาษโพสต์อิท และแปะที่เลขดังกล่าว ตามเวลาที่ได้มีการกำหนดในแต่ละรอบดำเนินเกมส์สลับกันไปเรื่อยๆ จนได้ทีมที่เดินถึงเส้นชัย เป็นการสิ้นสุดเกม
หลังจากนั้นให้ทุกทีมเลือกปัญหาที่สนใจที่สุด ทีมละ 1 ปัญหา นำบอร์ดที่คุณครูได้แจกมาก่อนหน้า ออกแบบนวัตกรรมที่จะแก้ปัญหาจากปัญหาที่เลือกมาข้างต้น และให้แต่ละกลุ่มผลัดกันนำเสนอผลงานที่ได้ สมาชิกกลุ่มอื่นร่วมกันทำการเสนอแนะกลุ่มที่นำเสนอโดยใช้หลักการ SCAMPER ส่งท้ายด้วยคุณครูให้นักเรียนสะท้อนคิดและออกความเห็นเกี่ยวกับความรู้ที่ได้รับจากกิจกรรมที่ได้ทำไป เป็นการเล่นเกมส์ที่สนุก สอดแทรกเนื้อหาการเรียนรู้ STEAM4INNOVATOR
ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมของกระบวนการสร้างนวัตกรรม STEAM4INNOVATOR https://facebook.com/STEAM4INNOVATOR

ทีมที่ 3 บอร์ดเกม Happy’ Farm
สร้างสรรค์โดย
• ครูรอน - รุ่งโรจน์ สมนิล
• ครูคม - คมสัณห์ จันสอน
• ครูกบ - มินทร์ตรา วิชาสวัสดิ์
จาก โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา 
ลักษณะของเครื่องมือ: Game & Activity
👨‍👧‍👧ผู้เล่น 20 คน
⏰ระยะเวลาในการเล่น 50 นาที
สื่อการเรียนการสอนนวัตกรรมชิ้นนี้ อยู่ในกระบวนการสร้างนวัตกรรม STEAM4INNOVATOR : Stage 2 สร้างสรรค์ไอเดีย

สาระความรู้ที่ผู้เล่นได้รับ:
เป็นกิจกรรมกลุ่มที่มุ่งเน้นพัฒนาทักษะการสร้างนวัตกรรมเพื่อให้นักเรียนสามารถสร้างสรรค์ไอเดีย นำเสนอ และคัดเลือกไอเดียที่แปลกใหม่ มีคุณค่า สามารถสร้างขึ้นได้จริง และมีประโยชน์ในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

วิธีการ:
โดยเป็นกิจกรรมกลุ่ม เหมาะกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เริ่มที่ เปิดใจไอเดีย ให้ผู้เล่นจับการ์ดเปิดใจ จำนวน 4 ใบ สีละ 1 ใบ ตามที่โค้ชอธิบาย จากนั้นเขียนไอเดีย สิ่งประดิษฐ์ชนิดใหม่ขึ้นมา ลงในแผ่นร่างไอเดีย การ์ดเปิดใจ หากไอเดียแปลกใหม่และสร้างสรรค์จะได้รับ 1 เหรียญ ต่อ 1 ไอเดีย จากนั้นผู้เล่นจะจับการ์ด Challenge 1 ใบ และการ์ดตัวแปร 1 ใบ ให้ผู้เล่นคัดเลือกไอเดียแปลกใหม่ที่เลือกลงในแผ่นร่างไอเดีย จากนั้นผลัดกันนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนไอเดียกัน หากผู้เล่นได้ไอเดียแปลกใหม่ ไม่ซ้ำกับผู้เล่นคนอื่นก็จะได้รับไปอีก 1 เหรียญ จากนั้นโค้ชจะอธิบายการใช้งานแผ่นร่างไอเดีย Sketch Idea โดยผู้เล่นหนึ่งคนเป็นผู้นำเสนอไอเดีย และผู้เล่นคนที่เหลือจับการ์ด SCAMPER คนละ 1 ใบ จากนั้นเปิดการ์ดขึ้นมา และให้แนะนำเสนอแนะ ปรับปรุงแก้ไขไอเดียของผู้นำเสนอให้ตรงจุดและตอบโจทย์ของสถานการณ์มากที่สุด จากนั้นให้ผู้เล่นแต่ละคนนำเสนอ ขายไอเดียให้ได้เหรียญมากที่สุด โดยเสนอด้วยกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อให้ไอเดียของตนได้รับความสนใจ ตอนจบเกมส์จะนับเงินจากผู้เล่นได้รับเหรียญมากที่สด จะเป็นผู้ชนะ เป็นเกมส์ที่สนุก ได้ความรู้ ให้ผู้เล่นทุกคนได้ฝึกการคิดแก้ปัญหา ต่อยอดสู่การสร้างนวัตกรรม ร่วมกันออกความเห็นอย่างสร้างสรรค์ด้วย SCAMPER และยังได้ฝึกการเสนอผลงานอีกด้วย สนุกสนานไปกับการเรียนรู้ตามแบบฉบับ STEAM4INNOVATOR
ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมของกระบวนการสร้างนวัตกรรม STEAM4INNOVATOR https://facebook.com/STEAM4INNOVATOR

สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมของ โครงการ CDI' Lab (Creative Design Innovators' Classroom) หรือ โครงการออกแบบห้องเรียนนวัตกร  https://facebook.com/STEAM4INNOVATOR

เจาะลึก/เรียนรู้เครื่องมือสร้างสรรค์ห้องเรียนนวัตกรรม ของครู CDI' ปล่อยของ (ตอนที่ 2)
เจาะลึก/เรียนรู้เครื่องมือสร้างสรรค์ห้องเรียนนวัตกรรม ของครู CDI' ปล่อยของ (ตอนที่ 3)


TAG: #สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ #NIA #NIAAcademy #STEAM4INNOVATOR #CDILab #CDI’ ปล่อยของ