Knowledge
กว่าจะเป็น สื่อการเรียนการสอนนวัตกรรม โครงการออกแบบห้องเรียนนวัตกร CDI' Lab
3 years ago 3975 รู้หรือไม่ว่า... ก่อนจะมาเป็น สื่อการเรียนการสอนนวัตกรรมที่สมบูรณ์แต่ละชิ้น ผลงานเหล่านั้นจะต้องผ่านการเรียนรู้ การตรวจสอบ อย่างไรบ้าง วันนี้เรามาเจาะลึกกัน...
"โครงการ CDI' Lab (Creative Design Innovators' Classroom) หรือ โครงการออกแบบห้องเรียนนวัตกร" ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเสมือนห้องเรียนและห้องทดลองสำหรับการสร้างสรรค์ห้องเรียนนวัตกรในแบบฉบันของคุณครูแต่ละท่าน ซึ่งคุณครูที่เข้าร่วมโครงการจะได้ติดอาวุธในเรื่องของความรู้ ทักษะ และได้ลงมือสร้างสรรค์สื่อการเรียนการสอน เครื่องมือ เกม หรือกิจกรรมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของห้องเรียนนวัตกรขึ้นจริง ผ่านกระบวนการของ STEAM4INNOVATOR สร้างสรรค์นวัตกรรมตามกระบวนการ พัฒนาเครื่องมือจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เป็นแนวทางพัฒนาศักยภาพที่ใช้พื้นฐานความรู้ด้าน STEAM ซึ่งประกอบด้วย วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) ศิลปะ (Art) และ คณิตศาสตร์ (Mathematics) ขยายมุมมองต่อการศึกษาผ่าน 4 ขั้นตอนสร้างนวัตกรรม
Stage 1️ รู้ลึก รู้จริง
Stage 2️ ความคิดสร้างสรรค์
Stage 3️ การบูรณาการ และ
Stage 4️ การลงมือทำจริง
กระบวนการที่คุณครูนวัตกรได้เรียนรู้ ทำให้ได้เรียนรู้เครื่องมือใหม่ๆ ได้เห็นความสร้างสรรค์ที่ผุดออกมา ทบทวนบทบาทความเป็นครูนวัตกรที่จะส่งต่อความรู้ให้นักเรียนต่อไป ถือเป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่าที่คุณครูทั้ง 10 ทีมได้รับ
โดยทีม STEAM4INNOVATOR จาก NIA จะคอยสนับสนุน และให้ความช่วยเหลือคุณครูในการค้นหา และสร้างสรรค์ห้องเรียนที่เหมาะสมแก่การสร้างนวัตกรที่ดีที่สุดไปด้วยกัน โดยหลักเกณฑ์การรังสรรค์สื่อการเรียนการสอนขึ้นมา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลักประกอบด้วย
1. Dynamics เนื้อหา เรื่องราว จุดสำคัญ ความรู้
2. Mechanics กฎกติกา รางวัล หนทางสู่ผู้ชนะ เป้าหมาย
3. Components อุปกรณ์ บอร์ด ผู้เล่น
วิธีการสอนที่นำมาใช้
1. แบบระดมสมอง (Brainstorming)
2. แบบใช้เกม (Games-based Learning)
3. แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think – Pair – Share)
4. แบบตั้งคำถาม (Questioning-based Learning)
5. แบบสะท้อนความคิด (Student’s Reflection)
ซึ่งจะไปต่อกันในขั้นตอนการทดสอบผลงาน Phototype โดยจะมีคีย์หลักในการทดสอบการเป็นสื่อการเรียน การสอนนวัตกรรมดังนี้
Originality (ซ้ำกับของคนอื่นไหม?)
Replay ability (เล่นซ้ำได้อีกไหม, เบื่อไหมถ้าเล่นซ้ำ)
Surprise (สร้างความแปลกใจในการเล่นแต่ละครั้งไหม)
Equal opportunity (ผู้ร่วมกิจกรรมมีโอกาสจะสนุกร่วมกันไหม)
Winning chances (โอกาสในการจบกิจกรรม)
Avoid "kingmaker effect" (ระวังการหมดหวังที่จะชนะ)
Avoid early elimination (ระวังการทิ้งผู้ร่วมกิจกรรมบางคน)
Reasonable waiting times (อย่าให้ผู้เล่น คอยนาน)
Creative control (ท้าทาย และได้เล่นเกมส์ ไม่ใช่ถูกเกมส์ควบคุม)
Uniformity (ชื่อกิจกรรม, รูปแบบ, Theme, กราฟฟิก สอดคล้องกัน)
Quality of components (คุณภาพ ความทนทาน วัสดุ ความสวย)
Target groups and consistency of rules (เช่น กลยุทธ์ vs โชค) Tension (ออกแบบให้ตึงเครียด อย่างเหมาะสม)
Learning and mastering a game (ได้เรียนรู้ และ รู้จักเกมส์)
Complexity and influence (ความซับซ้อน กับปัจจัยชักจูงให้เล่น)
กว่าจะมาเป็นเครื่องมือนวัตกรรมให้นักเรียน คุณครูต้องฝ่าฟันทุกอุปสรรค การทดสอบ และหลักเกณฑ์มากมาย เพื่อที่จะส่งมอบวิธีการเรียนการสอนให้นักเรียนได้ความรู้ ฝึกฝนความเป็นผู้ประกอบการ และยังสนุกไปกับการเรียนในเวลาเดียวกัน มันไม่ง่ายเลย
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมของ โครงการ CDI' Lab (Creative Design Innovators' Classroom) หรือ โครงการออกแบบห้องเรียนนวัตกร และ กระบวนการของ STEAM4INNOVATOR คลิกที่นี่ https://facebook.com/STEAM4INNOVATOR