Knowledge
เจาะลึก/เรียนรู้เครื่องมือสร้างสรรค์ห้องเรียนนวัตกรรม ของครู CDI' ปล่อยของ (ตอนที่ 2)
4 years ago 33434 ทีมต่อมา ของสื่อการเรียนการสอนนวัตกรรม จากครูนวัตกรที่ได้รับรางวัลจากโครงการ CDI' Lab (Creative Design Innovators' Classroom) หรือ โครงการออกแบบห้องเรียนนวัตกร โดยได้จัดแสดงที่ อาคารอุทยานนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ทีมที่ 4 SENA STEM4 S1-S2
สร้างสรรค์โดย
• ครูเอ็กซ์ - กฤษฎา การะเกต
• ครูขวัญ - ขวัญชัย พรหมภักดิ์
• ครูโจ - สาธิต วรรณพบ
จาก โรงเรียนตะกั่วป่า"เสนานุกูล"
ลักษณะของเครื่องมือ: Card Game
👨👧👧ผู้เล่น 20 คน
⏰ระยะเวลาในการเล่น 30 นาที
สื่อการเรียนการสอนนวัตกรรมชิ้นนี้ อยู่ในกระบวนการสร้างนวัตกรรม STEAM4INNOVATOR : Stage 2 สร้างสรรค์ไอเดีย
สาระความรู้ที่ผู้เล่นได้รับ:
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างประโยคปัญหา Challenge เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้าง หรือพัฒนานวัตกรรม ผู้เรียนเกิดทักษะในการอภิปราย และคำนึงถึงความสมเหตุสมผลของประโยคปัญหา Challenge และยังสามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างหรือพัฒนานวัตกรรม เป็นนวัตกรรมที่สนุกคิด สนุกสร้างสรรค์ สู่แรงบันดาลใจในการสร้างนวัตกรรม
วิธีการ:
Innovator game cards เกมส์ที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้เล่นได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการนำปัญหาที่ได้จาก Insight มาสร้างประโยค Challenge เพื่อค้นหาไอเดียสุดว้าว ซึ่งรายละเอียดเกมจะเป็นดังนี้ การ์ด 1 สำรับมีทั้งสิ้น 72 ใบ ประกอบด้วย การ์ดแรงบันดาลใจ 16 ใบ การ์ดกลุ่มเป้าหมาย 16 ใบ การ์ดข้อมูล 16 ใบ การ์ด Challenge 16 ใบ การ์ดสร้างสรรค์ไอเดีย 3 ใบ และการ์ดอุปสรรคอีก 5 ใบ โดยก่อนการเล่นคุณครูจะแนะนำวิธีการเล่นให้กับผู้เล่นทุกคน ผู้เล่นทุกคนจะได้รับการ์ดเริ่มต้นคนละ 5 ใบ และวางการ์ดตามลำดับ หากไม่มีก็จะทำการจั่วการ์ดในกองเพิ่ม เล่นต่อไปอย่างนี้เรื่อยๆจนกว่าการ์ดในมือของผู้เล่นคนใดคนหนึ่งจะหมดก่อน ถือว่าเป็นการสิ้นสุดเกม โดนการ์ด Challenge และ การ์ด Wow ที่เหลือในมือจะนับเป็นแต้มบวก ส่วนการ์ดอื่นๆที่เหลือจะถือเป็นแต้มลบต้องนำมาหักคะแนนออก และไปนับคะแนนจากการตัดสินความสมเหตุสมผลของประโยค Challenge ใน Challenge Scoreboard ผู้ที่ได้แต้มสูงสุดจะถือว่าเป็นผู้ชนะของเกม หลังจบเกมคุณครูก็ทำการสรุปความเข้าใจของผู้เล่น ทั้งยังแนะนำต่อยอดความคิดให้ผู้เล่นได้นำการสร้างสรรค์ไอเดียที่ได้จาก Stage นี้ไปสร้าง Phototype เพื่อพัฒนาและสร้างนวัตกรรมต่อไป
ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมของกระบวนการสร้างนวัตกรรม STEAM4INNOVATOR https://facebook.com/STEAM4INNOVATOR
ทีมที่ 5 เกมสร้างไอเดียภาพร่างนวัตกรรม “Xcution”
สร้างสรรค์โดย
• ครูเข้ม - พิสิฐ น้อยวังคลัง
จาก โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ลักษณะของเครื่องมือ: Board Game
👨👧👧ผู้เล่น 4 คน
⏰ระยะเวลาในการเล่น 30 นาที
สื่อการเรียนการสอนนวัตกรรมชิ้นนี้ อยู่ในกระบวนการสร้างนวัตกรรม STEAM4INNOVATOR : Stage 2 สร้างสรรค์ไอเดีย
สาระความรู้ที่ผู้เล่นได้รับ:
การวาดภาพร่างคือการนำเสนอความคิด เป็นภาพอย่างง่าย เพื่ออธิบายผลิตภัณฑ์กระบวนการ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ สร้างความเข้าใจร่วมกัน โดยเริ่มต้นง่ายๆ เพียงคิดวิธีการแก้ปัญหาให้กลุ่มเป้าหมาย และระดมความคิด เสนอไอเดียให้มากที่สุด เพื่อนำมาสร้างสรรค์เป็น “ภาพร่างนวัตกรรม” และให้สะท้อนตัวเองว่าในขณะที่เล่นเกมได้สวมบทบาทนวัตกร ได้ใช้สมรรถนะที่ได้รับตอนต้นเกมอย่างไรบ้าง หรืออยากพัฒนาสมรรถนะนวัตกรของตนเองอย่างไร
วิธีการ:
โดยตอนเริ่มเกมผู้เล่นจะได้รับการ์ด“สมรรถนะนวัตกร” และการ์ด“กลุ่มเป้าหมาย Persona” คนละ 1 ใบ และวางหมุดสถานการณ์ลงในช่องวงกลมกลางกระดานทุกช่อง ผู้เล่นเลือกวาง”หมุดสุ่มสถานการณ์”ลงในช่องวงกลมกลางกระดาน เมื่ออยู่ช่องไหนให้พลิกดูใต้หมุด จากนั้นทอยลูกเต๋าเพื่อเดินเก็บไอเดียระหว่างทาง หากตกในช่องสีแดง จะสามารถ หยิบการ์ดกลุ่มเป้าหมายเพิ่มได้ช่องละ 1 ใบ เริ่มเกมทุกตา ”หมุดนาฬิกา” จะเดินจากช่อง Insight รู้ลึกรู้จริง เพื่อ เดินเก็บไอเดีย เมื่อเข้าสู่ช่วงสร้างสรรค์ไอเดีย ผู้เล่นสามารถเลือก ทอยลูกเต๋าเก็บไอเดียต่อไป หรือนำการ์ดบนมือมาทำแต้มโดยจับคู่ กลุ่มเป้าหมายกับสร้างสรรค์ไอเดียและพูดนำเสนอเพื่อทำแต้ม ผู้เล่นได้แต้มเมื่อพูดไอเดียจากการจับคู่การ์ดกลุ่มเป้าหมาย 1 ใบ กับการ์ดสร้างสรรค์ไอเดีย 1 ใบ มานำเสนอได้ 1 แต้ม ในกรณีที่มีการ์ดสร้างสรรค์ไอเดียมากกว่า 1 ใบสามารถนำ เสนอไอเดียเพิ่มได้โดย 1 ไอเดีย จะได้รับคะแนนเพิ่มอีก 1 แต้ม เมื่อผู้เล่นมาถึงช่วงร่างต้นแบบจะจับเวลา 7 นาที เพื่อวาดไอเดียลง ในกระดาษเพื่อวาด “ภาพร่างนวัตกรรม” เมื่อเสร็จแล้วให้นำเสนอ และดำเนินการโหวต ผู้ที่ได้รับการโหวตอันดับที่ 1 จะได้รับ 4 คะแนน คะแนนลดหลั่นกันไปตามลำดับ โดยผู้ที่ได้รับคะแนนรวมสูงสุดคือผู้ชนะ จากนั้นก็จะมาถอดบทเรียนกัน ว่าเหตุใดผู้ชนะถึงได้รับคะแนนโหวตสูงสุด เพื่อฝึกการวิเคราะห์ หาเหตุ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและนำข้อดี ข้อด้อยของแต่ละผลงานเพื่อพัฒนะทักษะ ความคิด และนวัตกรรมต่อไป
ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมของกระบวนการสร้างนวัตกรรม STEAM4INNOVATOR https://facebook.com/STEAM4INNOVATOR
ทีมที่ 6 เกม Street food
สร้างสรรค์โดย
• ครูจี - จีรวรรณ บัวทอง
• ครูเจ๋ง - นิตยา ปอยเปีย
• ครูเย็น - เย็นฤดี ศรีสร้อย
จาก โรงเรียนพังโคนวิทยาคม
ลักษณะของเครื่องมือ: Board Game
👨👧👧ผู้เล่น 2-20 คน
⏰ระยะเวลาในการเล่น 45 นาที
สื่อการเรียนการสอนนวัตกรรมชิ้นนี้ อยู่ในกระบวนการสร้างนวัตกรรม STEAM4INNOVATOR Stage 1: รู้ลึก รู้จริง
สาระความรู้ที่ผู้เล่นได้รับ:
เกมออกแบบให้ทุกคนที่อยากเป็นนวัตกรได้เข้ามาเรียนรู้ผ่านขั้นตอนของ Stage 1 รู้ลึก รู้จริง ฝึกทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น, ฝึกการเรียนรู้การตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบ รวมถึงฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ ให้เข้าใจถึงปัญหาเพื่อโดยที่เหล่านวัตกรจะสามารถคิดประโยค challenge เพื่อแก้ปัญหาให้ตรงจุด ผ่านการตั้งคำถามสัมภาษณ์ , การเก็บรวบรวมข้อมูลลงบน Persona
โดยขั้นตอนการรู้ลึกรู้จริงของปัญหา จะเป็นฝึกการเรียนรู้การตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบ รวมถึงฝึกกระบวนการ คิดวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ การตั้งคำถามที่ดีจะนำพาให้เหล่านวัตกร ผู้ได้เข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริงได้
วิธีการ:
โดยเหล่านวัตกรผู้กล้าจะต้องมีหน้าที่ เก็บการ์ดให้ครบทั้ง 7 ใบ ดังนี้ 1.คิดคล่อง 2.คิดดัดแปลง 3.คิดตัดสินใจ 4.กล้าคิด 5.คิดเชิง เหตุผล 6.คิดกว้าง 7.คิดอิสระ การเก็บรวบรวมข้อมูลลงบน persona จะต้องเก็บให้ครบถ้วน ทุก 4 องค์ประกอบ คือ 1. Profile 2. Career 3. Life style 4.Goal เพื่อที่จะนำไปสร้างประโยค Challenge ที่แก้ปัญหาได้ถูกต้องตรงประเด็น โดยคุณครูได้จำลองสถานการณ์ถึงในเมืองที่ผู้คนเดินขวักไขว่และ ตามท้องถนนมีพ่อค้าแม่ค้า มากมายเปิดร้านขายอาหาร Street food แต่แล้วก็ได้ประสบกับปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ซึ่งจำเป็นจะต้องหาผู้กล้ามาช่วยกันแก้ไขปัญหา และได้เริ่มเข้าสู่ตัวเกมที่ทุกคนจะต้อง เก็บสะสมการ์ดให้ครบทุกรูปแบบ วิเคราะห์ Persona ตั้งคำถาม พิจารณาคำตอบผู้เล่นคนอื่น ออกแบบประโยค Challenge ซึ่งหากผู้เล่นทีมใดสร้างประโยค Challenge ได้ตรงตามรูปแบบเป็นทีมแรก เกมก็จะจบลง ผู้เล่นทีมดังกล่าวก็เป็นฝ่ายชนะไป เป็นสื่อการเรียนการสอนที่สนุกและเต็มเปี่ยมไปด้วยความรู้ ในแบบ STEAM4INNOVATOR จริงๆ
ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมของกระบวนการสร้างนวัตกรรม STEAM4INNOVATOR https://facebook.com/STEAM4INNOVATOR
ทีมที่ 7 เกมขลานิเวศน์
สร้างสรรค์โดย
• ครูยุ้ย - อรุณรัศมิ์ วณิชชานนท์
• ครูเบนซ์ - นินนาท์ จันทร์สูรย์
• ครูเปิ้ล - เกษศิรินทร์ รัทจร
จาก มหาวิทยาลัยทักษิณ
ลักษณะของเครื่องมือ: Board Game
👨👧👧ผู้เล่น 8-16 คน
⏰ระยะเวลาในการเล่น 45 นาที
สื่อการเรียนการสอนนวัตกรรมชิ้นนี้ อยู่ในกระบวนการสร้างนวัตกรรม STEAM4INNOVATOR: Stage 1 รู้ลึก รู้จริง
สาระความรู้ที่ผู้เล่นได้รับ:
เข้าใจ state 1 ของ STEAM4INNOVATOR รู้ลึก รู้จริง สามารถสร้างประโยคท้าทาย (Challenge sentence) จากข้อมูล insight รู้จัก นวัตกรของเมืองสงขลา และ Street Art ในเขตเมืองเก่าสงขลา
วิธีการ:
ในเกมขลานิเวศน์ ได้พาเราไปเจาะลึกผ่านการ์ดเกม ที่นำตัวละคร Persona จากนวัตกรตัวจริงส่งตรงจากเมืองสงขลา มาให้ผู้เล่นได้รู้จัก การเล่นเกมผู้เล่นจะได้รับการ์ด 5 ใบโดยสุ่มจากการ์ดทุกประเภท ในระหว่างการเล่นผู้เล่นจะต้องทำการจั่วการ์ด และเก็บข้อมูลให้ได้ว่า นวัตกรที่ผู้เล่นได้รับ ทำอาชีพอะไร กิจกรรม ความถนัด แรงบันดาลใจ ความฝัน และสิ่งที่ชอบ เมื่อผู้เล่นได้เก็บข้อมูลดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำข้อมูลที่ได้ไปสร้างประโยค Challenge โดยผู้เล่นใดสามารถสร้างประโยค Challenge ได้ก่อน จะถือเป็นผู้ชนะเกม และคุณครูก็จะทำการอธิบายอีกครั้งว่านวัตกรแต่ละท่านเป็นใคร สร้างคุณประโยชน์ต่อเมืองสงขลาอย่างไร ให้เราได้เรียนรู้กระบวนการสร้างนวัตกรรม สอบถามปัญหากันอย่างสร้างสรรค์ แถมยังได้รู้จักและหลงรักเมืองสงขลาอีกด้วย
ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมของกระบวนการสร้างนวัตกรรม STEAM4INNOVATOR https://facebook.com/STEAM4INNOVATOR
สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมของ โครงการ CDI' Lab (Creative Design Innovators' Classroom) หรือ โครงการออกแบบห้องเรียนนวัตกร คลิกที่นี่ https://facebook.com/STEAM4INNOVATOR
เจาะลึก/เรียนรู้เครื่องมือสร้างสรรค์ห้องเรียนนวัตกรรม ของครู CDI' ปล่อยของ (ตอนที่ 1)
เจาะลึก/เรียนรู้เครื่องมือสร้างสรรค์ห้องเรียนนวัตกรรม ของครู CDI' ปล่อยของ (ตอนที่ 3)