Knowledge

ดอกไม้บานที่ฟูจิมิ กิ่งก้านที่ฟูมฟักเริ่มเห็นยอดอ่อน  การปฏิรูปโรงเรียน โดยใช้แนวทางของ SLC (โรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้)

ดอกไม้บานที่ฟูจิมิ กิ่งก้านที่ฟูมฟักเริ่มเห็นยอดอ่อน การปฏิรูปโรงเรียน โดยใช้แนวทางของ SLC (โรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้)

 4 years ago 3459

ดอกไม้บานที่ฟูจิมิ กิ่งก้านที่ฟูมฟักเริ่มเห็นยอดอ่อน การปฏิรูปโรงเรียน โดยใช้แนวทางของ School as Learning Community - SLC (โรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้)

         วิสัยทัศน์ที่โรงเรียนวางไว้ คือ นักเรียนจะต้องเรียนรู้ด้วยกัน ดูแลเอาใจใส่ผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ และเป็นคนที่มีความแข็งแกร่งทางด้านจิตใจและร่างกาย โดยมีครูใหญ่ (คุณอาซานูมะ เคนอิจิ; Mr. Asanuma Kenichi) เป็นครูใหญ่ที่ขยันขันแข็งในการทำงาน และเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการจัดทุกๆ สิ่งที่จะนำโรงเรียนแห่งนี้เข้าสู่การทำ SLC ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา

Quality of Learning and Smiling ทำ Mission ให้ Possible 
         ที่โรงเรียนฟูจิมิ พันธกิจของโรงเรียน คือ "Quality of Learning and Smiling" การสนับสนุนให้เด็กๆ ทุกคนเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข รวมทั้งคุณครูด้วย แล้ว Mission จะ Possible ได้ โรงเรียนต้องมีการจัดการศึกษา และการบริหารจัดการ โดยยึด 3 เรื่องสำคัญ คือ 
- ในแต่ละบทเรียน เด็กๆ จะต้องรู้สึกปลอดภัยในการเรียนรู้ เด็กๆ สามารถพูดได้ว่าฉันเข้าใจและไม่เข้าใจตรงไหน และสามารถถามหรือขอความช่วยเหลือจากเพื่อนหรือครูได้ตลอดเวลา 
- บทเรียนนั้นจะต้องเป็นบทเรียนที่ให้ความใส่ใจและถูกออกแบบมาตอบสนองการเรียนรู้ที่แตกต่างกันของเด็กๆ โดยคุณครูเป็นผู้ที่คอยสำรวจและสนับสนุนการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น 
- คุณภาพและความเสมอภาคในการเรียนรู้ (Quality and Equity of Learning)

เป้าหมายที่โรงเรียนวางไว้จะสำเร็จ ถ้า...
         ครูใหญ่อาซานูมะสรุปไว้ว่ามีอยู่ 3 เรื่องสำคัญก็คือ
1. ความสัมพันธ์ที่ดี จะต้องจัดการเรื่องความสัมพันธ์ในโรงเรียน ทั้งนักเรียนกับนักเรียน นักเรียนกับครู ครูกับครูใหญ่ นักเรียน ครู ครูใหญ่ และผู้ปกครอง ให้มีความสัมพันธ์ที่ดี
2. เข้าใจความแตกต่าง พร้อมรับมือปัญหา จะต้องจัดการเรียนการสอนที่เน้นความแตกต่าง และจะต้องแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งสร้างผู้เรียนให้มี Self-directed learning คือ การเรียนรู้ที่จะกำกับตนเอง
3. Jumping Task งานที่ท้าทายและมีความหมาย คุณครูจะต้องออกแบบให้มี Jumping Task คืองานที่ท้าทายและมีความหมาย ในการเรียนรู้ ซึ่งผู้เรียนจะต้องช่วยกันหาคำตอบให้ได้ โดยการใช้การสนทนา (dialogue) ร่วมกัน เพื่อให้ได้คำตอบนั้นมา โรงเรียนมุ่งสู่เป้าหมายที่ทุกคนตั้งใจไว้ คนที่สำคัญที่จะช่วยให้โรงเรียนเป็นไปตามวิสัยทัศน์และปรัชญาที่ตั้งไว้ก็คือ นักเรียน คุณครู และผู้ปกครองทุกคน

พลังของ SLC สร้างการเปลี่ยนแปลงที่มั่นคง เพื่อความยั่งยืนของโรงเรียน
         ผลของการนำแนวคิด SLC มาใช้ในโรงเรียน ทั้งปรัชญา วิสัยทัศน์ และ ระบบกิจกรรม (activity system) โดยเข้าใจอย่างลึกซึ้งและดำเนินการกว่า 4 ปี ผลที่โรงเรียนฟูจิมิพบมีดังนี้
1. ทั้งคุณครูและนักเรียน เรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น โดยไม่เน้นการแข่งขัน
2. ระดับความรุนแรงในโรงเรียนลดลง และนักเรียนมีความสุขในการเรียนมากยิ่งขึ้น
3. นักเรียนมีความมั่นใจในการเรียนรู้และมีความกล้าแสดงออกต่อผู้อื่น รู้สึกปลอดภัย
4. นักเรียนต่างชาติที่มาเข้าร่วมเรียนก็ได้รับการสนับสนุนและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน
5. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สูงขึ้น แม้จะเป็นอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ขณะนี้โรงเรียนสามารถพัฒนาขึ้นมาให้อยู่ในระดับค่าเฉลี่ยกลางของประเทศได้ และมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
          โดยทุกคนในโรงเรียน ไม่เพียงเฉพาะครูใหญ่ คุณครู นักเรียน และผู้ปกครอง ต่างสะท้อนมาในการตอบแบบสอบถามว่า โรงเรียนจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการนี้ ทำให้เด็กๆ มีความสุขในการเรียนรู้ และคุณครูมีความสุขในการจัดการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น ทั้งคุณครูและนักเรียนตระหนักว่าตนเองมีสิ่งที่ดีๆ อยู่ในตนเอง และสามารถพัฒนาได้ทุกวัน

จากบันทึกการเยี่ยมชมโรงเรียนฟูจิมิ ประเทศญี่ปุ่น โดยทีม EDUCA และอาจารย์จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 6 ธันวาคม 2561


TAG: #Slc #Schoolaslearningcommunity #โรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้