Knowledge
ถอดบทเรียน NSM ซีรีส์ (ตอน 3): KIDS CAN CODE
3 years ago 2577 การคิดอย่างเป็นระบบ และแก้ไขปัญหาเป็น คือ หนึ่งในทักษะที่จำเป็นสำหรับเด็กในศตวรรษใหม่ ทักษะใหม่ เช่น Coding เป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่วยพัฒนา การคิดเชิงคอมพิวเตอร์ (Computational Thinking) และพัฒนาต่อเป็นทักษะการเขียนโปรแกรมพื้นฐาน จนต่อยอดให้เด็กๆสามารถพัฒนานวัตกรรมต่างๆได้ ซึ่งปัจจุบันนี้โรงเรียนไทยก็มีการแทรกเนื้อหาเหล่านี้ในวิชาวิทยาการคำนวณอยู่ในทุกระดับชั้นแล้ว
ครูวิทยาศาสตร์ หรือครูสายเทคโนโลยีที่สอน Coding ไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่มีราคาแพงแต่อย่างใด สิ่งสำคัญคือการฝึกกระบวนการคิดให้กับเด็ก ครูต้องคำนึงถึงพัฒนาการและช่วงวัยของนักเรียนของเรา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติได้พัฒนาชุดการสอนวิทยาการคำนวณออกมา โดยแบ่งเป็น 3 ระดับตามช่วงอายุ ประกอบด้วย
1. “Sequencing” หรือ สตาร์ทคิด สำหรับเด็กอายุ 7-8 ปี ฝึกให้เด็กๆ เรียนรู้เรื่องคำสั่ง การเขียน Flowchart และการคิดอย่างเป็นระบบ
2. “Algorithm Design” หรือ เส้นทางนักคิด สำหรับเด็กอายุ 9-10 ปี เด็กๆ จะได้เรียนรู้และเปรียบเทียบให้เห็นว่าระบบการคิดของมนุษย์แตกต่างกัน
3. “Unplugged Coding” หรือ ยอดนักคิด สำหรับเด็กอายุ 11-12 ปี เรียนรู้เรื่องวิทยากรคำนวณผ่านการลงมือปฏิบัติกับหุ่นยนต์จริงด้วยชุดการเรียนรู้ “Matata”
หัวใจของการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กคือความสนุกสนาน และการได้ลงมือปฏิบัติจริง การออกแบบบทเรียน Coding ที่ดีจึงต้องคำนึงถึงพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยของนักเรียนเป็นสำคัญ เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างทักษะการคิดอย่างเป็นระบบและการแก้ปัญหาเป็นให้เด็กๆ เพื่อเตรียมพร้อมกับโลกยุคใหม่ที่คาดเดาไม่ได้ในอนาคต