Knowledge

สร้าง “ผู้เรียน” แห่งอนาคต ด้วยมหิดลคิดส์ (Mahidol Kids)

สร้าง “ผู้เรียน” แห่งอนาคต ด้วยมหิดลคิดส์ (Mahidol Kids)

 2 years ago 2435

         หลังจากที่ระบบการศึกษาไทยได้ถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบในสถานการณ์โควิด-19 มากว่า 2 ปีแล้ว อนาคตของการศึกษาในประเทศไทยจะสร้างผู้เรียนแห่งอนาคตอย่างไร EDUCA ร่วมกับ Mahidol Kids จึงได้เชิญวิทยากรที่น่าสนใจ ได้แก่ อ.เต้ ดร.ระพี บุญเปลื้อง ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ครูลูกหิน ดร.พิรุณ ศิริศักดิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ โรงเรียนราชินีบน และครูนก ดร.ศศิธร เขียวกอ โรงเรียนพญาไท มาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์

ประสบการณ์ของครูกับเครื่องมือช่วยสอน
         ครูลูกหิน เห็นว่ากระบวนการเรียนรู้ออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ ขึ้นอยู่กับครูเป็นอันดับแรก เพราะครูต้องทำ 3 ด้าน ได้แก่ ออกแบบการสอน สร้างสื่อเรียนรู้ และวัดและประเมินผู้เรียนด้วยการให้ทำงานส่ง ครูก็ต้องตรวจงานและให้คำแนะนำ ซึ่งปัจจุบันครูน่าจะทำได้เกือบครบกระบวนการแล้ว ยกเว้นเรื่องของสื่อการสอนที่น่าสนใจที่ครูไม่สามารถทำได้เอง
         ครูนก ได้แบ่งปันประสบการณ์ในการปรับตัวด้านการสอนออนไลน์ โดยในช่วงแรกใช้คลิปการสอนจากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ส่วนสื่อการสอนก็จะเป็นครูออกแบบเอง แต่เมื่อพบว่าคลิปการสอนที่นำมาใช้ไม่เหมือนกับวิธีการสอนของตัวครูเอง จึงเริ่มสอนเองและแสวงหาสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและสามารถจุดประกายการเรียนรู้ให้ผู้เรียนจากทาง YouTube ต่อมาก็ปรับการเรียนเป็นแบบ hybrid ที่นักเรียนกลุ่มหนึ่งออนไลน์ อีกกลุ่มหนึ่งมาเรียนที่โรงเรียน ทั้งการจัดกิจกรรมแบบ active learning แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องการใส่ใจของนักเรียน จึงมีการใช้แอปพลิเคชั่นมาช่วย รวมถึงการใช้สื่อที่น่าสนใจด้วย
         อ.เต้ สะท้อนว่าการเรียนออนไลน์ทำให้ผู้เรียนนำการสอนของครูไปเปรียบเทียบกับสื่ออื่นๆ ได้ ดังนั้นการเลือกใช้สื่อที่ผลิตมาอย่างตั้งใจก็จะช่วยกระตุ้นผู้เรียนได้ ซึ่ง Mahidol Kids เป็นช่องการศึกษาออนไลน์ที่พัฒนาคอนเทนต์ให้ถูกต้องและปลอดภัย ในศาสตร์ที่หลากหลายเพื่อให้ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนสามารถนำไปปรับประยุกต์ให้เข้ากับบทเรียน

ผู้เรียนแห่งอนาคตต้องเป็นอย่างไร
         อ.เต้ สะท้อนว่าปัจจุบันนี้มีหลายอย่างที่เราไม่รู้ว่าโลกกำลังเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นด้านดีหรือไม่ดี บางอาชีพที่กำลังศึกษาในระดับอุดมศึกษาอาจหายไปในอนาคตอันใกล้ ดังนั้นในโลกยุคนี้จึงต้องเตรียมให้ผู้เรียนเป็นผู้เรียนตลอดชีวิต (Lifelong Learner) ที่สามารถหาความรู้มาแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ มีความสามารถในการคิด การใช้วิจารณญาณ การชั่งน้ำหนัก นำตรรกะไปใช้ จึงต้องมีการหาความรู้มาก่อนเข้าเรียน ส่วนในชั้นเรียนต้องอาศัยครูเปลี่ยนห้องเรียนให้เป็นพื้นที่ในการแก้ปัญหา การอภิปราย การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
         ในมุมมองของครูนก คือ ความรู้เปลี่ยนแปลงได้ เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ดังนั้นสถานการณ์ที่ซับซ้อนมากขึ้น ผู้เรียนต้องสามารถหาหนทางที่เหมาะสมกับตัวเอง ไม่จำเป็นต้องยึด สิ่งที่เน้นคืออยากให้ผู้เรียนรู้จักการคิดวิเคราะห์ วิพากษ์ และมีวิธีจัดการกับอารมณ์ของตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนแห่งอนาคตเป็น นวัตกร ที่สามารถสร้างนวัตกรรมได้
         ครูลูกหินเสริมว่า สัญชาตญาณในการเรียนรู้ของคนเป็นสิ่งที่ต้องปลูกฝัง ครูจึงมีบทบาทในการกระตุ้นผู้เรียนให้มีแรงบันดาลใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองและต่อยอดการเรียนรู้สู่ชีวิตจริง

สร้าง “ผู้เรียน” แห่งอนาคต ด้วยมหิดลคิดส์ (Mahidol Kids)
         ในมุมมองของผู้บริหารสถานศึกษา ครูลูกหิน เห็นว่าแม้ปัจจุบันจะยังไม่ประกาศใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ แต่ทุกคนทราบดีว่าฐานสมรรถนะสำคัญกว่า KPA (ความรูู้ ทักษะ เจตคติ) เพราะสมรรถนะคือพฤติกรรมการปฏิบัติในสถานการณ์จริง ที่นักเรียนนำมาใช้แก้ปัญหาจนประสบผลสำเร็จ โรงเรียนน่าจะสนับสนุนให้ครูใช้สื่อ Mahidol kids เป็นเครื่องมือเพื่อจุดประกายการเรียนรู้หรือพัฒนาคุณลักษณะ (attitude) ในการรักที่จะเรียนรู้ และยกระดับประโยชน์ที่ใช้สอนรายวิชาเพียงอย่างเดียว ไปสู่การเป็นเครื่องมือสร้างสมรรถนะ ด้วยการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการเชื่อมโยงศาสตร์ที่หลากหลาย

EDUCA Mahidol Kids คิดช่วยครู

พร้อมตัวอย่างแนวทางบูุรณาการสู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน

         สำหรับกลุ่มเด็กปฐมวัย เป็นวัยที่ยังเรียนรู้จากการอ่านไม่ค่อยได้ จึงต้องเน้นการใช้สื่อที่เรียนรู้จากการดูและการฟังมากกว่า แต่ที่สำคัญคือต้องเชื่อมโยงกับพ่อแม่ผู้ปกครองกับโรงเรียน เพราะชุมชนแห่งการเรียนรู้วิถีใหม่หลังโควิด-19 มีผู้ปกครองเป็นส่วนสำคัญ สื่อจาก Mahidol kids จะมีประโยชน์ในการกระตุ้นความสนใจ สร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ จากนั้นครูุก็ตั้งคำถามเพื่อดึงผู้เรียนเข้าสู่กิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียนต่อเนื่องได้

EDUCA Mahidol Kids คิดช่วยครู

         และสามารถสร้างกิจกรรมเพื่อให้เด็กได้ลงมือทำ ซึ่งจะทำให้ได้พัฒนากล้ามเนื้อได้อีกด้วย อ.เต้ อธิบายว่า สื่อการเรียนรู้ของมหิดลคิดส์ (Mahidol Kids) ถูกสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือให้คุณครูใช้ในการจัดการเรียนรู้ จึงเน้นความถูกต้องของเนื้อหา และความปลอดภัยในการลงมือปฏิบัติตามกิจกรรม รวมถึงความใส่ใจในรายละเอียดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษา ดนตรีประกอบ

EDUCA Mahidol Kids คิดช่วยครู

ภาพประกอบล้วนออกแบบมาเพื่อสื่อสารกับเด็กเป็นหลัก ด้วยหลัก 5E ได้แก่
Engage = คลิปมักเปิดด้วยคำถามเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ชม ให้อยากหาคำตอบ
Explore = การได้คำตอบ อาจเป็นการหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต หรือทำการทดลองให้เห็นผลอย่างชัดเจนด้วยตัวเอง
Explain = การอธิบายสิ่งที่ได้เรียนรู้
Elaborate = องค์ความรูุ้ที่ได้ นำไปใช้สถานการณ์อื่นๆ ได้
Evaluate = การประเมินผลว่าสิ่งที่ได้เรียนรู้ ไปส่งเสริมสมรรถนะอย่างไร

         ซึ่งครูลูกหิน และครูนก เห็นว่า ผู้สอนสามารถใช้กระบวนการ Evaluate กับผู้เรียนได้ในทุกขั้นตอน เพราะแม้ 5E จะเป็นระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ แต่จริิง ๆ แล้วสามารถนำมาใช้กับการเรียนรู้ได้ทุกวิชา เพราะองค์ความรู้ทั้งมวลของโลกใบนี้เกิดจาก 5E และโลกใบต่อไปก็ยังคงต้องใช้ด้วย ครูต้องมองโลกแบบองค์รวม ต้องสามารถนำ 5E ไปใช้ได้กับทุกวิชา นำไปใช้ได้กับโลกจริงของชีวิต EDL Research based / Innovation based อย่างไร ก็จะสามารถเชื่อมโยงสมรรถนะผู้เรียนได้ในอนาคต

ร่วมสร้างผู้เรียนแห่งอนาคต
         ผู้เรียนแห่งอนาคต ที่ได้รับการพัฒนาสมรรถนะและการพัฒนาแบบองค์รวม ทั้งด้านทักษะอารมณ์และสังคม (SEL) ให้เป็นผู้เรียนที่ดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางซับซ้อนของสังคมได้อย่างมีความสุข ผู้เรียนแห่งอนาคตเกิดขึ้นได้จากหัวใจที่รักจะเรียนรู้ของครู วิเคราะห์สถานการณ์บริบทโลก เพื่อสร้างผู้เรียนแห่งอนาคตให้พร้อมรับมือกับความเป็นไปของโลก

ตัวอย่างรายการของ Mahidol Kids คิดช่วยครู ที่ใช้ประกอบการเรียน
         ครูนก ได้นำตัวอย่างการนำคลิปของ Mahidol kids มาใช้เป็นแหล่งสืบค้นและเรียนรู้ของครู ก่อนที่จะไปไปแนะนำให้นักเรียน ใช้สืบค้นเพิ่มเติม และใช้เรียนรู้นอกจากเนื้อหาตามบทเรียน ทำให้นักเรียนเกิดไอเดีย คิดต่อ หรือนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ จนเกิดความรักในการเรียนรู้ และสามารถสร้างสมรรถนะให้นักเรียนตามตัวชี้วัดได้ ได้แก่
ป.2 เรื่องวัสดุ รายการจิ๋วซ่านักประดิษฐ์ ตอนไอศครีมกล่องขนมกับที่วางโทรศัพท์สุดชิค https://youtu.be/_2LEVR4bxBE
ป.3 เรื่อง วงจรชีวิตของสัตว์ ใช้รายการ Animals speak
ตอน ความลับน่ารู้ของหิ่งห้อย https://youtu.be/beLm7_WhP0Q
ตอน ผีเสื้อตัวน้อยนักขยายพันธุ์พืช https://youtu.be/tRAoMvYpZqI
ตอน หนอนไหม สัตว์สร้างเส้นใยแสนงดงาม https://youtu.be/ugiQKUkazdA
ตอน ชีวิตอิสระของเต่าทะเล https://youtu.be/_IWQL6AJRPs
ป.4 รายการวิทย์สนุก ตอน มหัศจรรย์การหักเหของแสง https://youtu.be/dtyYMPi21Kc
ป.6 รายการกระตุ้นการเรียนรู้ให้เด็ก ทำให้เกิดการเชื่อมโยงได้ นำความรู้ไปถ่ายทอดในครอบครัวได้ รายการ Bio O-Yeah! ตอน ไขมันเยอะขนาดไหน https://youtu.be/mDDPFfE82ig ตอน หวานแค่ไหน หวานเกินไปหรือเปล่า https://youtu.be/pqvsrlr4RNM

         ส่วนกิจกรรมพิเศษ โดยเฉพาะเดือนสิงหาคมที่เป็นวันวิทยาศาสตร์ ซึ่งในช่องของต่างประเทศจะมีกิจกรรมซ้ำ ๆ จึงมาค้นพบรายการวิทย์สนุก ตอนระบำลวด https://youtu.be/ulqTC67KI9w ตอนมุมมองที่หลอกตา https://youtu.be/BEBOje68vkE พบว่าใช้อุปกรณ์หาได้ง่ายจากใกล้ตัว และความรู้ทั่วไปที่เด็กและครูควรรู้ เพื่อให้การใช้ชีวิตประจำวันปลอดภัย หรือครูนำไปสร้างเป็นกิจกรรมให้เด็กได้ รายการ Safety kids ตอน CPR กู้ชีพเบื้องต้น https://youtu.be/wqVYZh5iKMw ตอน การปฐมพยาบาลเบื้องต้น https://youtu.be/3INpl4NfAy0 ตอน เดินทางเท้าให้ปลอดภัย https://youtu.be/_DZ5oUdItf0

#MahidolKidsคิดช่วยครู #สร้างผู้เรียนแห่งอนาคต


TAG: #Mahidol Kids #MahidolKidsคิดช่วยครู #สร้างผู้เรียนแห่งอนาคต #วิทยาศาสตร์ #ชีววิทยา #Bio O-Yeah #มหาวิทยาลัยมหิดล #สอนวิทยาศาสตร์