Knowledge
มาใช้ Improv สร้าง SEL กันเถอะ
3 years ago 2485แปลโดย พิศวัศน์ สุวรรณมรรคา
เรียบเรียงโดย ดร.นิภาพร กุลสมบูรณ์
“เด็กๆ ทำให้เราลุกขึ้น และเคลื่อนไหว มีประสบการณ์ คิด ลงมือทำ
เกมอิมโพรฟ ทำให้พวกเรากระตือรือร้นในการเรียนรู้
เช่นเดียวกับที่เราต้องการให้นักเรียนของเราได้เรียนรู้!”
ความคิดเห็นของครูท่านหนึ่ง (ในระหว่างการประชุมเชิงปฏิบัติการก่อนเกิด COVID ที่ซานตาโรซาฟลอริดา)
กว่า 10 ปีมาแล้วที่ ไคโกะ วาเกียสก้า เริ่มสำรวจประโยชน์ทางการศึกษาของการใช้ กิจกรรมอิมโพรฟ Improv (อิมโพรไวส์ หรือ การด้นสด) ในห้องเรียน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ครูและนักเรียนระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลายพันคนได้สัมผัสกับประโยชน์ทางการศึกษาของ “เกมการด้นสด”
ทำไมนะ Improv จึงกลายเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดึงดูดใจ และมีประสิทธิภาพมากเพียงนี้
ผลการใช้ เครื่องมือ “Improv (การด้นสด)” ที่มีต่อการเรียนรู้ในห้องเรียนนั้น เชื่อมโยงโดยตรงกับแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม (SEL) ในฐานะนักการศึกษาเราทราบดีว่าเมื่อนักเรียนรู้สึกเชื่อมโยงอารมณ์กับประสบการณ์ร่วมกับบทเรียน การเรียนรู้นั้นๆ พวกเขาจะสามารถเรียนรู้ และเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น ทำให้การเรียนรู้กลายเป็นประสบการณ์เชิงรุก และเชื่อมโยงกับชีวิต แทนที่จะเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่เฉื่อยชา
เมื่อ SEL เชื่อมโยงกับ Improv
การใช้เครื่องมือ Improv (การด้นสด) ขึ้นอยู่กับหลักการต่อไปนี้: การสร้างความเป็นด้วยกันทั้งมวล การทำงานเป็นทีม / การแบ่งปันกันเป็นจุดเด่น และความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ต่อแนวคิดที่ว่าความคิดทั้งหมดล้วนมีคุณค่า ซึ่งเป็นหลักการที่รู้จักกันในโลก improv ว่า “ใช่ ...และอีกมากมาย”
เกมอิมโพรฟ เล่นกันอย่างไรนะ
ในระหว่างการเล่นเกมอิมโพรฟในชั้นเรียน ครูจะให้ข้อมูลย้อนกลับ และช่วยเหลือผ่านการชี้แนะอยู่ข้างๆโดยให้ข้อเสนอแนะที่ลึกซึ้ง และเชิงบวก ในขณะที่ทำให้ขั้นตอนของกิจกรรมดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง การฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอกับเกมอิมโพรฟ ส่งผลให้นักเรียนเชี่ยวชาญในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และมีความพร้อมทางอารมณ์ เกมนี้จะทำให้เด็ก ๆ พร้อมที่จะเชื่อมต่อกับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง และเปิดเผยตัวตนกับผู้อื่น เด็กๆจะรู้สึกสบายใจกับการแสดงออก แสดงความคิดเห็นที่เป็นตัวของตัวเอง และซื่อตรงในการนำเสนอความคิด รับฟัง และทบทวนทักษะทั้งปฏิกิริยาของตนเอง และของเพื่อนๆ
ตารางด้านล่าง แสดงหลักการของอิมโพรฟทั้งหมดเชื่อมโยงกับหลักการปฏิบัติของ SEL ตามการอธิบายดังนี้
หลักการเบื้องต้นของ SEL | คำจำกัดความ | หลักการของกิจกรรม Improv ที่คู่ขนาน |
1) การใส่ใจ (care) | นักเรียนใส่ใจตนเองและผู้อื่น (เอาใจใส่) | การสร้างความเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน (ensemble building) |
2) การฝึกปฏิบัติ (practice) | นักเรียนฝึกความมีน้ำใจทุกวันในขณะที่เรียน | การสร้างความเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน (ensemble building) การทำงานเป็นทีม/การแบ่งปันกันเป็นจุดเด่น (teamwork/sharing focus) ปฏิกิริยาที่เป็นตัวของตัวเองและแท้จริง (personal & authentic reactions) |
3) การซักถาม (ask) | ถามผู้ใหญ่/ครู เมื่อไม่แน่ใจว่าจะช่วยเพื่อนหรือตัวคุณเองได้อย่างไร | การชี้แนะอยู่ข้างๆ (side coaching) |
4) การคิดสะท้อน (reflect) | คิดสะท้อนถึงผลกระทบของการกระทำและคำพูด | การทำงานเป็นทีม/การแบ่งปันกันเป็นจุดเด่น (teamwork/sharing focus) การชี้แนะอยู่ข้างๆ (side coaching) |
5) การเคารพนับถือ (respect) | เคารพความรู้สึกของผู้อื่น แม้ว่าพวกเขาจะแตกต่างจากตัวคุณเองก็ตาม | การสร้างความเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน (ensemble building) การทำงานเป็นทีม/การแบ่งปันกันเป็นจุดเด่น (teamwork/sharing focus) ใช่ ...และอีกมากมาย (Yes,….and) |
6) การสื่อสาร (communicate) | สื่อสารโดยการแบ่งปันด้วยความปรารถนาดีและรับฟังอย่างกระตือรือร้น | การสร้างความเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน (ensemble building) การทำงานเป็นทีม/การแบ่งปันกันเป็นจุดเด่น (teamwork/sharing focus) ใช่ ...และอีกมากมาย (Yes,….and) |
7) การเสริมพลัง (empower) | เพิ่มพลังให้คนรอบข้างของคุณด้วยการสนับสนุน การคิดเชิงบวกและการช่วยเหลือ | การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (creative problem solving) การสร้างความเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน (ensemble building) การทำงานเป็นทีม/การแบ่งปันกันเป็นจุดเด่น (teamwork/sharing focus) ใช่ ...และอีกมากมาย (Yes,….and) |
เราด้นสด ด้วยกันทั้งมวล อิมโพรฟ เป็นกิจกรรมที่ช่วยสร้างชุมชนที่มีความไว้วางใจ และสนับสนุนกันและกัน ไคโก เล่าว่าตอนที่เธอสอนแนวคิดของ “ด้วยกันทั้งมวล” กับนักการศึกษาและนักเรียนของเธอ เธอชี้ให้เห็นว่า “ ในโลกของ อิมโพรฟ เป็นหน้าที่ของฉันที่จะทำให้วงเพื่อนทั้งมวลของฉันรู้สึกดี ฉันต้องดูแลเพื่อนของฉันทุกคน” ผู้ที่ใช้กิจกรรมอิมโพรฟ Improv เข้าใจอย่างรวดเร็วว่า เมื่อเราไว้วางใจกันและกัน นั่นจะช่วยสนับสนุนชุมชนการเรียนรู้ของเราทุกคน พวกเราสามารถรับความเสี่ยงทั้งหลายได้มากขึ้น สิ่งนี้เปิดโอกาสให้เราสร้างความเชื่อมโยงสัมพันธ์ส่วนตัวกันมากขึ้น และส่งผลให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
หลักการต่อไปของอิมโพรฟ คือ การทำงานเป็นทีม / การแบ่งปันกันเป็นจุดเด่น, เป็นเรื่องของการแบ่งปันสปอตไลท์ ไม่มี “ใครเด่นเพียงคนเดียว” ในกิจกรรมอิมโพรฟ นักเรียนจะฝึกฝนการสร้างสรรค์และการเรียนรู้ในฐานะสมาชิกของชุมชนที่เชื่อถือได้และสนับสนุนกันทั้งมวล เด็กๆเรียนรู้ที่จะแบ่งปันความโดดเด่นและเต็มใจเสนอให้กับคนอื่น ๆ ด้วยเช่นเดียวกัน
และสุดท้ายหลักการอิมโพรไวส์ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ ใช่ ...และอีกมากมาย พูดง่าย ๆ ก็คือในอิมโพรฟ คำแนะนำทั้งหมดได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีการในการพัฒนา และเพิ่มพูนความลึกซึ้งของความคิด และการคิดอย่างมีวิจรณญาณ นักแสดงสดสร้างขึ้น บนการมีส่วนร่วมของกันและกัน พวกเขาไม่ลบล้างหรือลดคุณค่าของกันและกัน ใช่ ...และอีกมากมาย คือชีพจร หรือหัวใจของกิจกรรม improv
“กิจกรรมอิมโพรฟ” ไม่เพียงแต่พัฒนา SEL ในนักเรียนของเราเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ และความรู้ด้านเนื้อหาอีกด้วย กิจกรรมอิมโพรฟในชั้นเรียนช่วย 1) เสริมสร้างความมั่นใจ และสมรรถนะในการแก้ปัญหาให้แก่นักเรียนผ่านการฝึกหัด 2) สร้างการมีส่วนร่วมเชิงรุก 3) พัฒนาความตระหนักรู้ในตนเอง ในขณะที่นักเรียนค้นหาวิธีแสดงความคิด ความคิดเห็นและความรู้สึกผ่านการแสดงท่าทาง ในระหว่างเล่นเกมอิมโพรฟ ผู้เข้าร่วมจะต้องวิเคราะห์ และคิดด้นสดทันทีทันใด เด็กเติบโตทางสติปัญญาและทางอารมณ์เมื่อพวกเขาคาดเดา หาเหตุผล และคาดการณ์อย่างทันท่วงที นี่เป็นสิ่งที่เกือบจะคู่ขนานกันโดยตรงกับสิ่งที่เรียกว่าการเรียนรู้ทางสังคมและอารมณ์ในปัจจุบัน
และนี่คือเหตุผลว่าทำไมกิจกรรม อิมโพรฟ จึงต้องอยู่ในห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 ของเรา
เอกสารอ้างอิง
McKnight, Kate. (2021). Using Improv as Social Emotional Learning. Teaching Channel. April 6,2021
แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
[1] Smith, K. , & McKnight, K. S. (2009). จดจำที่จะหัวเราะและสำรวจ: กิจกรรมพัฒนาการเรียนการสอนการรู้หนังสือในห้องเรียนในเมือง International Journal of Education & the Arts, 10 (12), น 12.
[2] Spolin, V. , & Sills, P. (1999). การแสดงละครเวที: คู่มือการสอนและเทคนิคการกำกับ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น
[3] McKnight, K. S. , & Scruggs, M. (2008). คู่มือเมืองที่สองสำหรับอิมโพรฟในห้องเรียน: การใช้อิมโพรไวส์เพื่อสอนทักษะและเพิ่มการเรียนรู้ จอห์นไวลีย์แอนด์ซันส์
[4] Robinson, K. , & Lee, J. R. (2011). ออกไปจากจิตใจของเรา Tantor Media, Incorporated.
[5] Robinson A.H. (2019) กรอบและระเบียบวิธีในการทำความเข้าใจการบูรณาการศิลปะกับผู้เรียนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและดิ้นรน ใน: Costes-Onishi P. (eds) Artistic Thinking in the Schools. Springer, สิงคโปร์. https://doi.org/10.1007/978-981-13-8993-1_12
เขียนโดย ดุษฎีบัณฑิต เคธี่ แม็คไนท์
ดร. เคธี่ แม็คไนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและผู้เขียนได้พัฒนา Yes … And: SEL and Improv Connection for Educators ผู้เขียนหนังสือ 22 เล่มรวมถึง The Second City Guide to Improv in the Classroom และจบการศึกษาจาก The Second City Conservatory Program เคธี่เป็นผู้เชี่ยวชาญชั้นนำระดับโลกเกี่ยวกับอิมโพรฟและการเชื่อมต่อในห้องเรียน เคธี่ สอนนักการศึกษาเช่นคุณในการใช้อิมโพรฟในห้องเรียนและวิธีที่กลยุทธ์เหล่านี้ปรับปรุงการมีส่วนร่วมของนักเรียนสร้างชุมชนในห้องเรียนส่งเสริมความพร้อมในวิทยาลัยและอาชีพและส่งผลกระทบต่อ SEL ในหลาย ๆ ด้านรวมถึงการตระหนักรู้ในตนเองการสร้างความสัมพันธ์ และการรับรู้ทางสังคม ครูยังสนุก ดูเว็บไซต์ของเธอ: KatherineMcKnight.com หรือติดต่อเธอได้ที่KatieEngageLearners@gmail.com