Knowledge

กิจกรรม “เช็คอินความรู้สึก”เพื่อฟื้นฟูใจ เมื่อต้องเรียนออนไลน์ท่ามกลางวิกฤตโควิด 19

กิจกรรม “เช็คอินความรู้สึก”เพื่อฟื้นฟูใจ เมื่อต้องเรียนออนไลน์ท่ามกลางวิกฤตโควิด 19

 3 years ago 4659

เรียบเรียงโดย จิราเจต วิเศษดอนหวาย

          วิกฤตการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านอารมณ์ และสังคมของนักเรียน เพราะรูปแบบการเรียนรู้ต้องอยู่บนพื้นที่ออนไลน์มากขึ้น ปฏิสัมพันธ์ลดน้อยลงจนนำไปสู่ ความเครียด ความโดดเดี่ยว ความท้อแท้ในในการเรียนรู้ท่ามกลางวิกฤต นักจิตวิทยานิยามอาการเหล่านี้ว่า กำแพงกั้นการเรียนรู้ (Hitting the Pandemic Wall) เราจะมีวิธีอย่างไรเพื่อฟื้นฟูใจให้ทั้งครู และนักเรียนพร้อมสำหรับการเรียนรู้ใหม่ ๆ แม้ต้องห่างไกลกัน

          การฝึกสติ (Mindfulness) เป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมในหลายโรงเรียนทั่วโลกหลังจากวิกฤตโควิด 19 ได้มีการเก็บข้อมูลในโรงเรียนทั้งรัฐบาล และเอกชนในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้นำกระบวนการฝึกฝนสติให้รู้เท่าทันอารมณ์มาใช้ในห้องเรียน พบว่าผู้เรียนมีสมาธิมากขึ้น และมีเรียนรู้ได้ดีขึ้น เพราะธรรมชาติของสมองจะทำหน้าที่ได้ดีเมื่อผู้เรียนอยู่ในสภาวะอารมณ์ที่เป็นทางบวก จะทำให้สมองส่วนที่ทำหน้าที่คิด จำ ประมวลผลทำงานได้อย่างราบรื่น

          กิจกรรม“เช็คอินความรู้สึก” เป็นหนึ่งในกิจกรรมฝึกสติ โดยครูมีหน้าที่รับฟังอย่างไม่ตัดสินเพื่อให้ผู้เรียนระบุความรู้สึก และอารมณ์วันนี้ได้อย่างจริงใจ วันนี้จะลองยกตัวอย่างบทสนทนาในกิจกรรมนี้เพื่อให้ครูสามารถนำไปปรับใช้ได้ในห้องเรียนได้
ครู: วันนี้ครูอยากมาชวนทุกคนมาร่วมแบ่งปันความรู้สึกของนักเรียน โดยบอกว่าวันนี้นักเรียนรู้สึกอย่างไรบ้าง
นักเรียน: วันนี้หนูรู้สึกเบื่อมากเลยค่ะ ไม่อยากเรียน ไม่รู้จะทำยังไงดี
ครู: นักเรียนกำลังรู้สึกเบื่อ ทำให้ไม่อยากเรียนใช่ไหมคะ พอจะบอกได้ไหมคะ ว่าอยากให้ครูหรือเพื่อน ๆ ช่วย อะไรบ้างเพื่อให้รู้สึกดีขึ้น
นักเรียน: อยากให้ครูไม่ดุ แล้วก็อยากเล่น kahoot ค่ะ

          จะเห็นว่านอกจากการรับฟังโดยไม่ตัดสินแล้วการที่ครูแสดงให้เห็นว่าความรู้สึก และอารมณ์ของนักเรียนแต่ละคนนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน และยอมรับรับฟัง ส่วนประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับตัวนักเรียนคือการรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้เขาหาทางรับมือกับอารมณ์ของตนเองระหว่างการเรียนรู้ได้โดยมีครู และเพื่อนเคียงข้างร่วมกันหาทางออก

          คุณครูอาจนำกิจกรรม”เช็คอินความรู้สึก” ไปบูรณาการร่วมกับรายวิชาที่ตนสอนได้ในช่วงต้นของคาบเรียนได้เช่นในวิชาคณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับเรื่องสถิติอารมณ์ของเพื่อนในห้อง ภาษาไทยเรื่องเพิ่มคลังคำศัพท์เรียกชื่ออารมณ์ วิชาศิลปะใช้สีแสดงแทนอารมณ์ ขอส่งกำลังใจให้ครูทุกท่านนำพาศิษย์ฝ่าวิกฤตไปได้ด้วยกัน


แหล่งอ้างอิง

Michael Ray. (2020 July 17). Translating Mindfulness to Distance Learning. Retrieved May 7, 2020 from https://www.edutopia.org/article/translating-mindfulness-distance-learning

Jena Brooker. (2020 Nov 23). How Mindfulness During Class Can Help Students and Teachers. Retrieved May 7, 2020 from https://www.kqed.org/mindshift/57002/how-mindfulness-during-class-can-help-students-and-teachers


TAG: #โควิด19 #COVID19 #โรคระบาดใหญ่ #SEL #Social Emotional Learning #ฝึกสติ #Mindfulness #การรู้เท่าทันอารมณ์ #การเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม #การจัดการเรียนการสอนต่างประเทศ