Knowledge

Learning loss คือวิกฤตที่รอผู้ใหญ่ทุกคนพลิกให้เป็นโอกาส

Learning loss คือวิกฤตที่รอผู้ใหญ่ทุกคนพลิกให้เป็นโอกาส

 2 years ago 11702

จิราเจต วิเศษดอนหวาย

          ตามการประมาณการของ UNESCO นักเรียนกว่า 800 ล้านคน ใน 79 ประเทศยังคงเผชิญกับสถานการณ์ Learning loss หลายประเทศทั่วโลกยังคงร่วมมือร่วมใจอย่างแข็งขันที่จะหาทางออกจากวิกฤตครั้งนี้ทั้งในระดับห้องเรียน ชุมชน ไปจนถึงระดับนโยบาย เช่น สหรัฐอเมริกา ยูเครน อังกฤษ ส่วนประเทศไทยหลังจากเปิดเรียน on site ผ่านมากว่า 2 เดือน คุณครูน่าจะเข้าใจวิกฤตนี้ได้ดีที่สุดและอาจกำลังมองหาแนวทางฟื้นฟูการเรียนรู้ของผู้เรียน ก่อนที่เราจะลงมือตามหาเครื่องมือหรือแนวทางเพื่อแก้ไขสถานการณ์นี้ จุดเริ่มต้นที่สำคัญคือต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่าแท้จริงแล้วการสูญเสียการเรียนรู้ Learning Loss คืออะไร

แล้วอะไรที่เรียกว่า Learning loss

Learning Loss ในสังคมไทย

          Learning loss เป็นคำที่ถูกหยิบยกขึ้นมาใช้อธิบายการสูญเสียการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นตั้งแต่การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่แท้จริงในช่วงก่อนปี 2020 นักการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญใช้คำนี้ในบริบทและสถานการณ์ปกติ เช่น ช่วงปิดเทอมใหญ่ที่นักเรียนไม่ได้อยู่ในห้องเรียนเป็นเวลาหลายเดือน แต่การแพร่ระบาดของโควิดกินระยะเวลาที่นักเรียนไม่ได้ทำกิจกรรมการเรียนรู้แบบเดิมยาวนานกว่าการปิดเทอมครั้งใด ผลกระทบที่ชัดเจนที่สุดเกิดขึ้นกับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้นในด้านการพัฒนาการการอ่านที่ช้าลงและถดถอยอย่างชัดเจน

          การใช้คำว่า Learning loss เพื่ออธิบายวิกฤตที่เกิดขึ้นในปัจจุบันอาจสร้างความสับสนกับคำว่า Schooling loss ได้ การมองเห็นความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างสองอย่างนี้สำคัญในการที่จะวิธีแก้ไข ความสับสนระหว่าง 2 คำดังกล่าวได้มีนักการศึกษาให้ความคิดเห็นว่า ต้องระมัดระวังระหว่างการใช้คำว่า Learning loss เพื่ออธิบายสถานการณ์ Schooling loss ที่หมายถึงการสูญเสียวัฒนธรรมการเรียนแบบเดิม เช่น การเข้าเรียนในห้องเรียนตามตารางเรียน การสอบกลางภาคเพื่อวัดผลเพียงความรู้ความจำ การทำกิจกรรมหน้าเสาธง หรือกิจกรรมอื่นที่ทำจนเป็นกิจวัตร เพื่อให้เข้าใจสถานการณ์วิกฤตนี้ได้ดีขึ้นจึงต้องคำถามที่จะนำพาคุณครูไปสู่ทางออกที่ใช่นั่นคือ “อะไรบ้างที่นักเรียนสูญเสียไปเมื่อไม่ได้เรียนรู้?”

ชวนผู้ใหญ่หยิบแว่นขยายขึ้นมาส่องหาสิ่งที่สูญเสียไป
          แน่นอนว่าการผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้จะต้องใช้ความร่วมมือ ร่วมใจจากบุคลากรทางการศึกษาทุกส่วนรวมถึงผู้ปกครอง คุณครูไม่สามารถแบกรับและแก้ไขวิกฤตนี้ได้เพียงลำพัง ในต่างประเทศคุณครูผู้ที่อยู่ใกล้ชิดนักเรียนมากที่สุดเมื่อเปิดโรงเรียนต่างให้ความสำคัญอย่างมากกับการฟื้นฟูความพร้อมในการเรียนรู้ (Rebooting readiness to learn) นั่นคือการเรียกคืนความสนุก รอยยิ้มและเสียงหัวเราะในการเรียนรูของนักเรียนกลับมาอีกครั้ง เพราะสิ่งที่นักเรียนสูญเสียไประหว่างที่การเรียนรู้หยุดชะงัก คือการเรียนรู้ด้านสังคมและอารมณ์ (Social and emotional Learning) ซึ่งหมายถึงการฟื้นฟูทักษะการแสดงออกทางอารมณ์ การทำงานเป็นทีม การจัดการอารมณ์ การอยู่ร่วมกันในพื้นที่ส่วนรวม ทักษะเหล่านี้คือสิ่งที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้วิชาการและการทำงานกับเพื่อนและคนรอบตัว

          หากทุกฝ่ายร่วมมือฟื้นฟูทักษะเหล่านี้จะเสมือนได้ตัวต่อชิ้นสำคัญที่จะเชื่อมนักเรียนให้เข้ามาสู่โลกแห่งการเรียนรู้ได้อีกครั้ง และเมื่อนักเรียนส่งสัญญาณความพร้อมมาแล้ว คุณครูจะสามารถวางแผนการพัฒนาทักษะทางวิชาการรายบุคคลไปสักระยะหนึ่งเพื่อเติมเต็มนักเรียนที่มีความแตกต่างระหว่างบุคลากรด้วยเทคนิคเสริมต่อการเรียนรู้ (Scaffolding) ให้พร้อมเดินหน้าไปด้วยกันโดยไม่ทิ้งนักเรียนคนใดไว้ข้างหลัง

Learning Loss ในสังคมไทย

          สำหรับในบริบทของประเทศไทยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาจาก TDRI และ Teach for Thailand เสนอแนวทางการฟื้นฟูภาวะการเรียนรู้ถดถอย (Recovery program) เช่น ดำเนินการฟื้นฟูภาวะการเรียนรู้ถดถอยของนักเรียนรายบุคคล ด้วยการประเมินความพร้อมทางวิชาการของนักเรียน และนำข้อมูลการประเมินมาเพื่ออกแบบการเรียนรู้ด้วยเทคนิคเสริมต่อการเรียนรู้ รวมถึงการปรับตัวของหน่วยงานภายใต้กระทรวงศึกษาธิการที่ต้องมีมาตรการอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา และเป็นตัวกลางในการสื่อสารแนวทางการแก้ปัญหาให้โรงเรียนสามารถนำแนวทางไปแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตรงตามบริบทของพื้นที่

          การสูญเสียการเรียนรู้ ครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ของวงการการศึกษาที่มีผู้ร่วมชะตาเดียวกันนี้อยู่ทั่วโลก หากเราเชื่อมั่นในการเรียนรู้และการพัฒนาได้ของมนุษย์ รวมถึงการแบ่งปัน ความรู้ เครื่องมือและกำลังใจเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันจะทำให้การก้าวผ่านวิกฤตนี้เป็นดำเนินไปอย่างไม่โดดเดี่ยวและดำเนินไปสู่ทางออกร่วมกันอย่างมีพลัง

อ้างอิง
Chalk. (2021, November 17). How to turn COVID-19 related learning loss into learning gains. https://www.chalk.com/resources/learning-loss-and-learning-gains/

Page, E., Leonard-Kane, R., Kashefpakdel, E., Riggall, A., & Guerriero, S. . (2021, August). Learning loss, learning gains and wellbeing: A rapid evidence assessment. https://eric.ed.gov/?id=ED615066

Branstetter, R. (2022, March 16). What can you do about pandemic learning losses?. https://greatergood.berkeley.edu/article/item/what_can_you_do_about_pandemic_learning_losses

เทฬหวิชญ์ ฐิติรัตน์สกุล. (2564, 12 ตุลาคม). ปิดโรงเรียน เร่งฟื้นฟูการศึกษา แก้ปัญหา Learning Loss. Workpoint Today. https://workpointtoday.com/policylab-learning-loss/


TAG: #Learning Loss #ภาวการณ์ถดถอยทางการเรียนรู้ #การเรียนรู้ถดถอย #การสูญเสียการเรียนรู้ #การฟื้นฟูภาวะการเรียนรู้ถดถอย #Recovery program #Scaffolding #SEL #Social Emotional Learning