Knowledge

เข้าใจเจนอัลฟ่า (Generation Alpha)...ฉันไม่ผิด

เข้าใจเจนอัลฟ่า (Generation Alpha)...ฉันไม่ผิด

 3 years ago 2307

เรียบเรียงโดย จิราพร เณรธรณี

          สื่อออนไลน์ทุกรูปแบบทั้งที่เป็น ภาพ วิดีโอ ส่งผลกระทบต่อชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันเป็นอย่างมาก เด็กที่เติบโตมาใน “เจนเนอเรชั่นอัลฟ่า” คือ กลุ่มที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ขึ้นไป เด็กกลุ่มนี้เกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ทำให้พวกเขามีพัฒนาการการเรียนรู้ที่รวดเร็ว และมีสื่อออนไลน์จำนวนมากเป็นแหล่งเรียนรู้ สถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลต่อกระบวนการเรียนรู้ทั้งทางอารมณ์ และพฤติกรรมที่ส่งผลต่อสังคมไทย

          การทดลองตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของ Bandura คือ การทดลองตุ๊กตา Bobo ทฤษฎีนี้เป็นการทดลองให้เห็นว่า การเรียนรู้จากการสังเกตตามต้นแบบที่ได้กำหนดไว้ มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่ โดยมีขั้นตอนการทดลอง ดังนี้
1. แบ่งเด็กเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ กัน โดยกำหนดกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม
2. ฉายคลิปที่แสดงให้เห็นการใช้ความรุนแรงให้เด็กดู
3. ให้กลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 ดูคลิปที่มีการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว เช่น ชก ต่อยตุ๊กตา Bobo
4. ให้กลุ่มทดลองกลุ่มที่ 2 ดูคลิปที่มีการเล่น หรือจับตุ๊กตา Bobo อย่างเบา ๆ
5. กลุ่มควบคุมจะไม่ได้ดูคลิปอะไรเลย
6. เด็กแต่ละกลุ่มจะเข้าไปในห้องที่มีตุ๊กตาวางอยู่ทีละคน
7. จากนั้นผู้ทดลองสังเกตและบันทึกพฤติกรรมเด็กจากกล้องวงจรปิดในห้อง

ผลการทดลอง
1. เด็กกลุ่มที่ 1 แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวใส่ตุ๊กตา เช่น ใช้ค้อนตี
2. เด็กกลุ่มที่ 2 ไม่ได้แสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าวออกมา
3. เด็กกลุ่มที่ 3 ไม่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมา

          อย่างไรก็ตาม หลังจากการทดลองนี้ เด็กทั้ง 3 กลุ่มจะต้องได้รับการเยียวยาทางด้านจิตใจ เพื่อไม่ให้เป็นผลเสียต่อพฤติกรรมเด็กในอนาคต การทดลองนี้มีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวต่อหน้าเด็ก จึงอาจไม่เหมาะสมหากจะเลียนแบบ เพราะวัตถุประสงค์ของการทดลองเป็นไปเพื่อการศึกษาค้นคว้าในช่วงเวลานั้นเท่านั้น

          จากการทดลองดังกล่าว ทำให้เราเข้าใจได้ว่าพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็ก เกิดจากการสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัว ทั้งนี้รวมถึงสื่อออนไลน์ที่ใกล้ชิด และเป็นแหล่งเรียนรู้ของพวกเขา โดยเฉพาะสื่อในปัจจุบันที่ส่วนใหญ่มีเนื้อหาที่รุนแรง ครูและผู้ปกครอง ต้องให้ความสำคัญกับการดูแลใกล้ชิด และควรเลือกสื่อให้เหมาะสมกับอายุและการเรียนรู้ของเด็ก การดูแลเอาใจใส่ใกล้ชิด สร้างความผูกพันและทักษะด้านอารมณ์และสังคมแก่เด็กเจนอัลฟ่า จะช่วยสร้างสรรค์และลดทอนปัญหาสังคมในอนาคต อย่ารอให้ถึงวันที่เขาพูดว่า “ฉันไม่ผิด เพราะก็เรียนรู้จากสื่อออนไลน์แบบนี้มาตลอดชีวิต”อย่านะคะ อย่านะคะ

แหล่งอ้างอิง
การทดลองตุ๊กตา Bobo. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://th.reoveme.com/ [สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2564]

เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา. (2562). [ออนไลน์]. ให้ลูกร่วมทุกข์สุข เรียนวิชาผิดหวัง รับมือเด็ก เจนอัลฟ่าด้วยพลังบวก. เข้าถึงได้จาก https://thepotential.org/social-issues/alpha-generation-treat/ [สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2564]


TAG: #Generation Alpha #เจนอัลฟ่า #พฤติกรรมผู้เรียน #วิชาแนะแนว #จิตวิทยาการเรียนรู้ #การแนะแนวส่วนบุคคล