Knowledge

ทดสอบแบบนี้..นี่แหละใช่...โดนใจเยาวรุ่น

ทดสอบแบบนี้..นี่แหละใช่...โดนใจเยาวรุ่น

 3 years ago 12446

เรียบเรียงโดย อาทิตยา ไสยพร

          พอพูดถึง “การทดสอบ” แน่นอนว่าจะก่อให้เกิดความกดดันแก่เยาวรุ่น (ศัพท์ใหม่ของวัยรุ่นที่ฮิตกันในช่วงนี้) พวกเขามักจะเกิดความกดดัน และความตื่นเต้นเมื่อเห็นกระดาษคำตอบที่ต้องฝนกันจนเจ็บมือ หรือกดดันที่ต้องนั่งก้มหน้าก้มตาคร่ำเครียดกับกระดาษตรงหน้า

          สภาพแวดล้อมที่กดดัน และรูปแบบการทดสอบแบบเดิมๆ ทำให้เยาวรุ่นจำนวนไม่น้อยที่เป็นลูกศิษย์ของเราแขยงการสอบ หากมีการทดสอบความเข้าใจบทเรียนเรื่อย ๆ มีการเก็บคะแนนย่อย ๆ ที่ทำให้เยาวรุ่นของเราสนุกพร้อมสร้างการเรียนรู้แก่พวกเขา ลูกศิษย์คงมีความสุข และสนุกกับการทดสอบของคุณครูไม่ใช่น้อย ทั้งยังทำให้ครูทราบว่านักเรียนเข้าใจในบทเรียนมากน้อยเพียงใด มีอะไรที่ควรปรับปรุง หรือช่วยเหลือนักเรียนคนใดอีกบ้าง ดังนั้นเทคนิคในการทดสอบย่อย ทบทวนความเข้าใจระหว่างทางโดยใช้เครื่องมือ และเกมส์ต่างๆ จะช่วยให้ครูสามารถตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนได้อย่างสม่ำเสมอ มีเครื่องมือที่มากมายในหลายเว็บไซต์ ที่เราจะวัดความเข้าใจของนักเรียนของเรา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตรงใจเยาวรุ่นเหล่านี้ ดังนี้

1. เว็บไซต์ Kahoot คือ โปรแกรมที่ช่วยในเรื่องของการประเมินผลนักเรียนในรูปแบบของเกมส์ โดยเป็นคำถามปรนัย (มีตัวเลือก) โดยคำถามนั้นจะแสดงบนหน้าจอชั้นเรียนแล้วให้นักเรียนนั้นกดคำตอบที่อยู่ในอุปกรณ์ของตนเองทั้งคอมพิวเตอร์ มือถือหรือแท็บเล็ต
จุดเด่น: Kahoot ช่วยให้นักเรียนเกิดความสนุก และ กระตือรือร้นในการทำแบบทดสอบเพราะถึงแม้จะตอบข้อสอบข้อนั้นได้ถูกต้องแต่ไม่ได้หมายความว่าจะได้คะแนนเท่ากัน เพราะความเร็วในการตอบนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของการให้คะแนนด้วย เหมาะมากสำหรับ Pre-test ก่อนเข้าเนื้อหาในชั้นเรียน เพื่อสร้างประเด็นที่น่าสนใจ และทำให้นักเรียนของเราทราบว่าเรื่องใดที่เขายังไม่รู้อีกบ้าง รูปแบบของคำตอบเป็นแบบสัญลักษณ์และสีมีผลต่อการเรียนรู้ของสมองทำให้มีการจดจำที่ดี การจับเวลาที่เหมาะสมทำให้มีความตื่นตัว และการรวมคะแนนเป็นรายข้อทำให้ผู้เรียนได้วางแผนว่าข้อถัดไปนั้นจะแก้ปัญหาอย่างไร
จุดด้อย: เนื่องจากสามารถทำรูปแบบการทดสอบเป็นในรูปแบบปรนัยเท่านั้น ทำให้ไม่ได้วัดในเชิงการวิเคราะห์ความรู้ความเข้าใจในเชิงลึก อีกเรื่องในเรื่องของความพร้อมในเรื่องเครื่องมือ อินเทอร์เน็ต อุปกรณ์การสื่อสารของนักเรียนที่มีความพร้อมไม่เท่ากัน รวมไปถึงความเสถียรของแอปพลิเคชันที่อาจทำให้เกิดปัญหาระหว่างการใช้ได้
คลิกเข้าเว็บไซต์ https://kahoot.com

2. เว็บไซต์ Mentimeter เป็นเว็บไซต์ที่ช่วยสร้าง Presentation ที่สามารถให้ผู้เรียนนั้นมาตอบคำถาม แสดงความคิดเห็นได้ หรือสร้างกิจกรรมโต้ตอบภายในชั้นเรียน ทำให้วัดความเข้าใจ และความคิดเห็นของผู้เรียนได้ทันที
จุดเด่น: สามารถสร้างการนำเสนอข้อมูลที่หลากหลายได้ ทั้งในรูปแบบของ Wordcloud , Ranking, Scale ตลอดจน Matrix มี template, theme ให้เลือกมากมายเพื่อความสวยงาม และไม่จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วม แสดงผลข้อมูลได้น่าสนใจ ช่วยให้นักเรียนของเราเห็นผลลัพธ์พร้อมกัน และจับประเด็นสำคัญได้มากขึ้น
จุดด้อย: สำหรับเวอร์ชั่นที่ให้ใช้ฟรี (free version) พบว่า ใน 1 presentation จะมีได้แค่ 2 กิจกรรมหลัก (2 slides) และมีโจทย์ประเภท quiz competition ได้สูงสุด 5 ข้อคำถามและไม่สามารถ export ไฟล์เป็น excel, csv ได้
คลิกเข้าเว็บไซต์ https://www.mentimeter.com

3. เว็บไซต์ Padlet เป็นเว็บไซต์ที่ช่วยในการเรียนการสอน และมีประโยชน์มากมายสามารถใช้เพื่อรีวิวหนังสือ สรุปเนื้อหา บอร์ดตั้งคำถาม ตลอดจนบอร์ดแสดงความคิดเห็น ที่รองรับผู้ใช้ได้จำนวนมาก สามารถเข้ามาร่วมกันอธิบาย แลกเปลี่ยนข้อมูล เขียนคำตอบ และสรุปเนื้อหาการเรียนรู้ระหว่างครูและนักเรียน Padlet สามารถโพสต์ ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ เสียง และลิงก์เว็บไซต์ รวมถึงใช้ในรูปแบบแผนที่ความคิด (mind map) และยังสามารถนำข้อมูลในบอร์ดออกมาเป็นไฟล์ pdf csv excel หรือพิมพ์และแชร์ผ่านช่องทาง social media ได้ ไม่ว่าจะเป็น Facebook Twitter E-mail โดยสามารถเข้าใช้งานได้ทั้ง Padlet.com หรือดาวน์โหลดได้ทั้ง Play Store และ App Store
จุดเด่น: เป็นพื้นที่ที่สามารถทำงานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะแสดงความคิดเห็นหรือการตั้งคำถามต่าง ๆ รวมถึงสรุปและทำ mind map จึงทำให้ใช้เป็นสื่อกลางในการระดมความคิดและแลกเปลี่ยนข้อมูล ทำให้คุณครูรวมถึงนักเรียนในชั้นเรียนมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกันมากขึ้น นักเรียนที่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นสามารถใช้เป็นสื่อกลางในการแสดงความคิดเห็นได้ และส่งงานออนไลน์ได้
จุดด้อย: เว็บไซต์นี้อาจมีข้อจำกัดด้านความเร็วเล็กน้อย บางช่วงเวลาอาจจะไม่เสถียรในการใช้งาน
คลิกเข้าเว็บไซต์ https://padlet.com

4. Vonder go แอปพลิเคชันสัญชาติไทยที่ทำให้การเรียนรู้นั้นไม่น่าเบื่อ ในรูปแบบเกมส์ และมีตัวการ์ตูนมากมาย ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ทบทวนเนื้อหา ตลอดจนการทำแบบทดสอบ Vonder Go เป็นการตอบคำถามแบบต้องอาศัยการทำงานเป็นทีม ทั้งนี้ในแต่ละเกมส์จะตอบโจทย์วิธีการเรียนรู้ที่ไม่เหมือนกัน บางเกมส์วัดความแม่นยำ บางเกมส์วัดความเร็ว และบางเกมส์ก็เน้นที่ความคล่องตัว
จุดเด่น: สามารถเลือกรูปแบบการตอบได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น 1) เลือกหนึ่งคำตอบที่ถูกต้อง สร้างคำถามที่มีคำตอบถูกต้องเพียงหนึ่งเดียว 2) เลือกหนึ่งภาพที่ถูกต้อง สร้างคำถามที่มีภาพที่ถูกต้องเพียงหนึ่งเดียว 3) เลือกหลายคำตอบที่ถูกต้อง สร้างคำถามที่ต้องเลือกมากกว่าหนึ่งคำตอบที่ถูกต้อง 4) เลือกหลายภาพที่ถูกต้อง สร้างคำถามที่ต้องเลือกมากกว่าหนึ่งรูปภาพที่ถูกต้อง และ 5)เรียงลำดับ สร้างคำถามที่ต้องเรียงลำดับคำตอบให้ถูกต้อง
จุดด้อย: มีจำกัดผู้เล่นสูงสุดที่ 50 คน
คลิกเข้าเว็บไซต์ https://www.vonder.co.th

          เครื่องมือที่ยกตัวอย่างมาเหล่านี้ จะช่วยให้ครูสามารถตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนได้อย่างสม่ำเสมอ มีประสิทธิภาพ เข้าใจความต้องการของเยาวรุ่นซึ่งเป็นนักเรียนของเรา และทำให้ครูอย่างเราได้ทดลองใช้เครื่องมือใหม่ๆ และสนุกกับการเรียนรู้ไปพร้อมๆกับเยาวรุ่นของเราด้วยเช่นกัน

แหล่งอ้างอิง
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. (2564) การใช้โปรแกรม Kahoot สำหรับใช้ในการเรียนการสอน.  27 มีนาคม 2564, จาก http://km.buu.ac.th/public/backend/upload/article/file/document150155566125163400.pdf?fbclid=IwAR1Uj_vIgU5RRa7UJBdL8FWmIdrobTHMD795CtOwEmYTlkhAwUhJI3EkmVc

กิตติ จุ้ยกำจร. (2561). ประโยชน์ของการนำ Kahoot Application ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน. 27 มีนาคม 2564, จาก http://www.teched.rmutt.ac.th/wp-content/uploads/2018/08/ผลการนำไปใช้.pdf

ข้อดีข้อเสียของโปรแกรม Kahoot. (2564). ข้อดีข้อเสียของโปรแกรม Kahoot. 27  มีนาคม 2564, จาก https://sites.google.com/site/karfukxbrmdoychikahoot/prayochn-khxng-porkaerm-kahoot

Youth Innovation. (2562). แนะนำ Mentimeter ตัวช่วยกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน. 27มีนาคม 2564, จาก https://www.youthinnovation.org/2019/introducing-mentimeter/?fbclid=IwAR3zY4Qiap7gz8fcMTxQjo4KhUE9mJEG_HM1QAmDcxa1qHmsLi21mbyFf3I

แนะนำ Padlet เว็บไซต์ช่วยระดมความคิดของนักเรียนที่มีประสิทธิภาพ. (2562)  28 มีนาคม 2564, จาก https://www.kruachieve.com/เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา/padlet/

Sirikunya072. (2559). ประโยชน์ของ Padlet. 28 มีนาคม 2564, จาก https://sirikunya072.wordpress.com/2016/11/05/padlet/

Kiadtipong Yordyiamkrae. (2564). Pedlet. 28  มีนาคม 2564, จาก https://sc.chandra.ac.th/kiadtipo-y/index.php/padlet/

SME Startup. (2563). จับตา VONDER แพลตฟอร์มการเรียนแนวใหม่ เตรียมสู่ Series A ในปีหน้ารับตลาด Edtech กำลังโต. 28 มีนาคม 2564, จาก https://www.smethailandclub.com/startups-6459-id.html


Chayapa Kamhangrit. (2564). Vonder go For Fun. 28 มีนาคม 2564, จาก https://inskru.com/idea/-MTBav2KFZbwAbU3CIgE


TAG: #การออกแบบการทดสอบ #การทดสอบ #การออกแบบการประเมิน #เครื่องมือสำหรับวัดผลและประเมิน #Vonder Go #Padlet #Mentimeter #Kahoot #การวัดและประเมินผล #การใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้