Knowledge
ไวรัสก็ต้องสู้ วิกฤตก็ต้องผ่าน เปิดเทอมนี้จะเป็นอย่างไร เรียนรู้จากประเทศอื่นๆ ที่สู้เหมือนกัน
4 years ago 6257ภาพ: กชกร มั่นคงเจริญกิจ
เมื่อนึกถึงแผนสองสำหรับเปิดเทอมใหม่ การสอนออนไลน์ (Online Learning) อาจเป็นตัวเลือกหนึ่งของกลุ่มคน และพื้นที่ที่มีความพร้อมในการการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอย่างง่ายดาย แต่ในกลุ่มของนักเรียนที่ยังขาดทั้งอุปกรณ์ขั้นพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต มือถือ และ สัญญาณอินเทอร์เน็ต เราจะทำอย่างไรให้เด็กๆ เหล่านี้ได้เรียนรู้ สู้วิกฤตไปพร้อมๆ กัน หากเปิดเทอมนี้เราก็ต้องอยู่กันห่างๆ อย่างห่วงๆ เพราะโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
มาดูตัวอย่างของต่างประเทศ ที่นำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้ระยะไกล (Remote Learning) ซึ่งเป็นอีกทางเลือกสำหรับการช่วยเหลือให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ปักกิ่ง จีน:
สงสัยกันไหม ช่วงที่ไวรัสโคโรนา บุกจีนหนักๆ จนต้องปิดเมืองหลายเมือง แต่ครูก็ยังมีการเรียนการสอนอยู่ เขาทำกันอย่างไร
ครูที่ปักกิ่งใช้ห้องเรียนเสมือนจริงที่ถ่ายทอดมาจากบ้านพวกเขาจากเมืองต่างๆ และจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก พวกเขามีเวลาแค่ไม่ถึงครึ่งสัปดาห์ในการเตรียมการสอนแบบออนไลน์ รวมถึงการติดตั้งโปรแกรมที่ไม่เคยมีครูคนไหนลองใช้มาก่อน เมื่อรัฐบาลห้ามมีการเคลื่อนย้ายของประชาชน ห้องเรียนออนไลน์ก็เกิดขึ้นทันที จัดตามตารางสอนจริงที่เกิดขึ้นในห้องเรียน ในช่วงสัปดาห์แรกๆ ต้องใช้ความยืดหยุ่น และความอดทนอย่างมาก การทำงานเจอปัญหามากมาย จนตอนนี้ครูจีนสร้างการมีส่วนร่วมให้เด็กๆ ได้มีประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีคุณภาพสูงได้แล้ว
นักเรียนไม่จำเป็นต้องอยู่หน้าจอตลอดเวลา ครูสามารถจัดการเรียนการสอนโดยให้เด็กๆ ไม่ต้องมาจดจ่อกับหน้าจอ ให้เขาทำงาน โครงงานอื่นๆ แล้วส่งเป็น Video มาแทนการส่งการบ้าน มอบหมายงานโดยให้นักเรียนทำงานผ่านกระดาษหรือสมุด และถ่ายรูปส่งมาให้ดูก็ได้
ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา:
เมืองนี้ได้ร่วมมือกับสถานีท้องถิ่น PBS และ โรงเรียนของรัฐบาลทุกแห่งภายในเขตการศึกษา ลอสแอนเจลิส ยูนิฟายด์ ริเริ่มที่จะเชื่อมโยงการเรียนรู้ระยะไกลกับรายการโทรทัศน์ โดยนักเรียนในพื้นที่จะสามารถรับชมรายการที่ชื่อว่า "Nova" ที่มุ่งเน้นสำหรับนักเรียนมัธยมต้น เป็นรายการแนวสารคดี เคน เบิร์นส์ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การคาดคะเน ประวัติศาสตร์ เรื่องราวของนักวิจัย ที่มีเนื้อหาตามมาตรฐานของรัฐ รวมกับการขายหนังสือ และพัสดุอีกกล่องที่สนับสนุนการเรียนจากที่บ้าน โดยไม่ต้องพึ่งพิงการใช้สัญญาณอินเทอร์เน็ตเพียงอย่างเดียว
ฮานอย เวียดนาม:
โรงเรียนนานาชาติสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน ส่งเสริมการเรียนรู้ระยะไกล โดยส่งกล่องอุปกรณ์งานฝีมือไปตามบ้านของเด็กๆ ภายในกล่องมีอุปกรณ์ที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการ การควบคุมกล้ามเนื้อมากมาย เช่น แป้งโดว์ ขนนก ลูกประคำ กาวแท่ง และรายชื่อเกมมากมายที่เด็กเล่นกับครอบครัวได้ โดยในแต่ละระดับชั้น กล่องที่จัดส่งจะผ่านผู้ดูแล ว่าเหมาะสมกับพัฒนาการตามระดับของเด็กๆ ในชั้นนั้น เราพบว่าการมีส่วนร่วมของเด็กมีมากกว่าจะใช้แค่วิดีโอเป็นสื่อ เมื่อกล่องอุปกรณ์งานฝีมือถูกเปิดออก เราจะพบกับความมหัศจรรย์ที่เด็กๆ ได้สร้างสรรค์กลับมา
เนเธอร์แลนด์:
สมาคมเครือข่ายโรงเรียน แนะนำว่าโรงเรียนควรติดต่อกันด้วยการใช้บริการข้อความเป็นหลัก เหมือนการแจ้งเตือน ไม่ได้ใช้ผ่าน App ติดต่อทางมือถือ แต่คือการใช้โทรศัพท์จริงๆ หลายที่ใช้การสอนแบบออนไลน์เป็นหลัก ขณะที่เลือกจะมองข้ามเด็กที่ไม่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์ต่างๆ ได้เลย เป็นเรื่องที่ต้องใช้การคิด และแผนการที่ควรระมัดระวังมาก
แม้ว่ายังเหลือเวลาอีกเกือบสองเดือนกว่าจะเปิดเทอมใหม่ แต่เรารู้ว่าครู EDUCA พร้อมเรียนรู้ทุกเวลา ดูตัวอย่างการแก้ไขปัญหาของประเทศอื่นๆ แล้วคุณครูคิดอะไรได้อีกบ้าง ช่วยกันแชร์ แลกเปลี่ยน เรียนรู้กัน เป็นอีกโอกาสให้ครูไทยเรียนรู้สิ่งที่ท้าทาย ทำทุกอย่างได้ เพื่อเด็กๆ ของเรา ไม่ว่าจะเจอเรื่องอะไรก็ตาม รวมถึงวิกฤตในครั้งนี้ เรามีผ่านวิกฤตไปด้วยกัน COVID-19 ไม่สามารถหยุดครูได้
อ้างอิงจาก
Stephen Noonoo (2020). Here’s What Schools Can Do For the Millions of Students Without Internet Access, Retrieved March 26, 2020, from https://www.edsurge.com/news/2020-03-20-here-s-what-schools-can-do-for-the-millions-of-students-without-internet-access
Laurel Schwartz (2020). What Teachers in China Have Learned in the Past Month , Retrieved March 26, 2020, from https://www.edutopia.org/article/what-teachers-china-have-learned-past-month